พฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตาม เพศ สถานภาพทางครอบครัว โรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าที (Independent Sample t-test) และการทดสอบค่าเอฟ หรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test/One–way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.27) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการใช้เวลาว่าง (=4.22) ด้านความเครียด (=3.66) ด้านการเข้าใจตนเอง (=3.10) ด้านการคบเพื่อน (=3.10) ด้านสุขภาพ (=2.83) และด้านการนําสารเสพติดเข้าสู่ร่างกาย (=2.66) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตาม เพศ สถานภาพทางครอบครัวและโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เรียงตามลำดับความถี่สูงสุดไปหาต่ำสุด ดังนี้ (1) ครูควรปลูกจิตสำนึกในเรื่องภัยของยาเสพติดให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น (2) ครูและผู้ปกครองนักเรียนควรแนะนำวิธีการเลือกคบเพื่อนที่ดี และควรสอดส่องดูแลการคบหาสมาคมเพื่อนๆของนักเรียนอย่างใกล้ชิด (3) สถานศึกษาควรสนับสนุนอุปกรณ์การกีฬา ดนตรี หรือกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ (4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำชับเอาใจใส่ในการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาและควบคุม กวดขันการเสพยาเสพติดในโรงเรียนอย่างเข้มงวด (5) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องให้ความสำคัญมีจิตสำนึกร่วมกันที่จะปกป้องคุ้มครองดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
Article Details
References
กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด. (2557). สรุปรายงานสถานการณ์ยาเสพติด
ประจำปี พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด.
เกาะติดสถานการณ์ยาเสพติดภัยร้ายแรงในสังคมไทย. สืบค้นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561,
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยาการณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) :
คําผล สุพร. (2559). ปัญหาและแนวทางการดําเนินงานป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา
อําเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
คำสั่งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ที่ 3/2561 เรื่อง แผน
ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน ปี 2561 (มีนาคม -กันยายน
. สืบค้นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติดแห่งชาติ (ศพส.) : https://www.nccd.go.th
ปิยนุช ศรีพรมทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลศรีวิชัย.
พนม เกตุมาน พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. สืบค้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2561,:
ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2561,
สารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด (26 มิถุนายน)
ประจำปี 2561.สืบค้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561, สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ : http://www.skp.moe.go.th
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2561). แผนปฏิบัติการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2561 สพป.ชัยภูมิ เขต 2.กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
วราภรณ์ มั่งคั่ง, (2560), ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึก
และอบรม เด็กและเยาวชนบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยบูรพา