โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกระบวนการสร้างพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบกรอบแนวคิดในการสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกระบวนการสร้างพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 330 คน ใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่พบว่า พฤติกรรมสุขภาพเชิงบวก ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการปัจจัยสนับสนุนและโยนิโสมนสิการ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .67 และ.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความเชื่อมั่นศรัทธา ผ่านโยนิโสมนสิการ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .23 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). รายงานผลการดำเนินงาน. นนทบุรี: สำนัก
โรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. รายงานผลการดำเนินงาน, นนทบุรี.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). ดุลยภาพ: สาระแห่งสุขภาพและความสมบูรณ์. พิมพ์ ครั้งที่ 4. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน
ศันสนีย์ สมิตะเกษตรินและภัทระ แสนไชยสุริยะ. (2547). แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์อย่างครบถ้วนต่อเนื่อง. นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช). (2553). คู่มือพยาบาลสำหรับปฏิบัติงานใน คลินิกเอชไอวี ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหมิตรพรินติ้ง
แอนด์พับลิสซิ่ง.
สมนึก สังฆานุภาพ. (2551). การดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี. กรุงเทฯ : หมอชาวบ้าน.
วันวิสาข์ ทิมมานพ. (2559). กระบวนการพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวก
ในติดเชื้อเอชไอวี ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.