การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อรุณี ภูถมดี
แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้วิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่   ร้อยละ 70 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนขอนแก่นพัฒนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เซต 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องเซต มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.05 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.25 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เท่ากับ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของนักเรียนทั้งหมด จากการพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดถึงน้อยที่สุด ดังนี้ ด้านวางแผนแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ด้านทำความเข้าใจปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ด้านดำเนินการตามแผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และด้านตรวจสอบผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ตามลำดับ

  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเซต มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.40 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.00 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เท่ากับ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของนักเรียนทั้งหมด

  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านที่นักเรียนพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่นักเรียนพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

 


คำสำคัญ : วิธีการสอนแลกเปลี่ยนบทบาท , ชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์

Article Details

บท
Research Articles

References

กัลยาณี หนูพัด. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ
แลกเปลี่ยนบทบาท และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยพงษ์ สุริยะพรหม. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง ป่า ชุมชน เพื่อสร้างเสริมเจตคติต่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขึ้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.