รูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์โดยใช้ STEM สำหรับโรงเรียน ที่มีครูสอนไม่ตรงสาขา

Main Article Content

นฤมล ภูสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และปัญหาของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ STEM 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์โดยใช้ STEM สำหรับโรงเรียนที่มีครูสอนไม่ตรงสาขา ดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และปัญหาของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ STEM ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์โดยใช้ STEM สำหรับโรงเรียนที่มีครูสอนไม่ตรงสาขา กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนไม่ตรงสาขา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร/หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และนักเรียนใน 11 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้ STEM โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาได้แก่ ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้และด้านการใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน ตามลำดับ 2) ความต้องการของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้ STEM โดยภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ ตามลำดับ 3) รูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์โดยใช้ STEM สำหรับโรงเรียนที่มีครูสอนไม่ตรงสาขา มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลุ่มเป้าหมาย 4) ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การทำบันทึกตกลงความร่วมมือ ขั้นที่ 2 รวมกลุ่มพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ STEM ประกอบด้วยขั้นตอนเรียกว่า GPERC Model ได้แก่(1) กำหนดเป้าหมาย (Goals Clarified : G)  (2) เสนอความรู้และปฏิบัติ (Presenting and Practicing : P) (3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchange : E) (4) สะท้อนคิด  (Reflection : R) (5) สรุปผลและนำไปใช้ (Concluding and Applying : C) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการจัดการเรียนรู้โดยใช้ STEM ขั้นที่ 4 ประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ STEM 5) เนื้อหาของรูปแบบ 6) การประเมินรูปแบบ และ 7) เงื่อนไขของความสำเร็จ

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษา

วิชาชีพครู LEARNING MANAGEMENT BASED ON STEM EDUCATION FOR STUDENT TEACHERS.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.18 (4) : 334.

กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้

ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มในระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย

มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ.11(3) กันยายน-ธันวาคม 2561 :92-114.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.

นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รชากานต์ เคนชมพู. (2555). ผลกระทบจากครูผู้สอนสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอกต่อผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษาโรงเรียน

ประถมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดชัยภูมิ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิทยากร เชียงกุล. (2559).รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558จะปฏิรูปการศึกษา

ไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ :บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสะเต็ม.

กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579.

กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.