การบริหารจัดการจราจรในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตามแนวทางการบริหารจัดการที่ดี

Main Article Content

ฉัตรชัย นามเสนาะ
ประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยนำไปสู่การเกิดปัญหาการจราจรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการจราจรในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแก้ไขปัญหาการจราจรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการจราจร ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการที่ดี ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  ด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน จากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และกองบังคับการจราจร โดยการวิเคราะห์เนื้อหา  2)  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และกองบังคับการจราจร จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณเส้นตรง ผลงานวิจัยในเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดปัญหาการจราจรในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสภาพของรถยานพาหนะ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.38, S.D.= 0.54) ปัจจัยที่แก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านขนส่งสาธารณะมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.30, S.D. = 0.51) และการบริหารจัดการที่ดี ในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53, S.D.=0.59) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาการจราจร คือด้านผู้ขับขี่ยานพาหนะ ที่นิยมการใช้รถส่วนตัวมากกว่าการใช้ขนส่งสาธารณะ ปัจจัยการแก้ไขปัญหาจราจรคือด้านกฎหมายจราจรต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง แนวทางการบริหารจัดการที่ดีในการแก้ไขปัญหาการจราจร คือด้านหลักการมีส่วนร่วม ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในการสอดส่องตรวจตราการบังคับใช้กฎหมายจราจรให้มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาด้านหลักความโปร่งใส เนื่องจากสำนักงานตำรวจมักถูกมองจากสังคมภายนอกว่าเป็นองค์กรที่เอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล, Shinawatra University, Thailand.

Shinawatra University, Thailand.

References

ประสบสุข ศรีแสนปางและคณะ, (2551). การดำเนินงานด้านวิจัยจราจรและการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิรัช วิรัชนภาวรรณ, (2547). การบริหารจดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตาม รัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ศุภชัย ยาวะประภาษ, (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งทาทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สมใจ ศรีโสภิตสวัสดิ์,(2552).แนวทางการแก้ปัญหาการจราจรในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง สำนักวิทยบริการ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2559), พันธกิจการสร้างเสริมสุขภาพของ

สสส. รายงานประจำปี 2559.