การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และหาแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 351 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พนักงานส่วนตำบลที่เกี่ยวข้อง ผู้นำจิตอาสาและบุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมทั้งหมดจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวม มีการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผน รองลงมา คือ ด้านการจัดองค์การ ด้านการการกำกับ ติดตามและประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนำสู่การปฏิบัติ ตามลำดับ 2) สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวม มีสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดองค์การ รองลงมา คือ ด้านการนำสู่การปฏิบัติ ด้านการกำกับ ติดตามและประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผน ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี ใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการวางแผน ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน มีการนําปัญหาที่เกิดขึ้น จากการจัดการขยะมาวางแผนให้ตรงตามความต้องการของประชาชน (2) ด้านการจัดองค์การ ควรมีการจัดองค์การให้มีความ สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการของประชาชนและเป็นไปตามแผนการจัดการขยะมูลฝอย จัดหางบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมเป็น คณะกรรมการ โดยผ่านการประชาคมทุกระดับ (3) ด้านการนำสู่การปฏิบัติ ควรมีการอบรมให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการ จัดการขยะมูลฝอย สร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน/หมู่บ้าน สร้างผู้นําชุมชน ผู้นําองค์กร เป็นต้นแบบ จัดประกวดหมู่บ้านปลอดขยะ และยกย้องเชิดชูเกียรติให้บุคคลต้นแบบอย่างต่อเนื่องและ (4) ด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ควรมีการนําผลการปฏิบัติงาน และปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงพัฒนาการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการกำหนดบทลงโทษ ที่ชัดเจนสำหรับ ผู้ที่ฝ่าฝืนกระทำผิด กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและมีการลงโทษที่จริงจัง ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการประเมินความพึงพอใจของประชาชนและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
Article Details
References
ควบคุมมลพิษ, กรม. (2562), ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสาร
อันตราย “รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี
พ.ศ. 2561”.ออนไลน์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562). จาก http://infofile.pcd. go.th/Waste/Wst2018.pdf.
จรัส สุวรรณมาลา. (2542), ศักยภาพทางการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จำเนียร พูลเพิ่ม. (2559), การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหาร
ส่วนตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี.บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทองใบ สุดชารี. (2551), การวิจัยธุรกิจ: ปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตำรา. อุบลราชธานี:
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทิวา ประสุวรรณและคณะ. (2559),การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นและชุมชนในตำบล บ้านแกลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง,” วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ 11, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 45–61.
นัยนา เดชะ.(2557), การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลเสม็ด
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ภิญญดา หงส์คำ. (2557), แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของ
เทศบาลในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
มะลิวัลย์ ฝันมะติ. (2557), ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ
ขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560), พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2557 เล่มที่ 134 ตอน 5 ก หน้ 1-7. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
วัชรากรณ์ คำดี. (2561), แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของ
ประชาชนเทศบาลตำบาลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ศศิวรรณ สุขรัตน์. (2557), ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูล
ฝอย กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านน้อยในเมือง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. (ออนไลน์) วันที่ 10 ธันวาคม 2562). http://202.28.117.115/files/gs28_attachment_files/files/2362E0%B8%B2%E0%B8%A1
สมัชชา หนูทอง. (2557), ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำท้องถิ่น :
กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี.
บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรพงษ์ เล็กสมบูรณ์. (2557), กลยุทธ์การจัดการขยะชุมชนแบบประชาชนมีส่วนร่วมของ
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง. (2563), ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.
อุบลราชธานี: สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง.
. (2562), แผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง (2561-2565) อำเภอ
วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง.
Aganrwal, R, Chaudhary, M., and J, Singh. “Waste Management Initiatives in
India for Human Well Being,” European Scientific Journal. 1, 1 (June 2015): 105–127.