การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) ร่วมกับแผนผังวามคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พิพัฒน์พงศ์ โสลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) ร่วมกับแผนผังวามคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยให้นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) ร่วมกับแผนผังความคิด โดยให้นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนน  อำเภอซำสูง  สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  จำนวน  18  คน ได้มาแบบเจาะจง (purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄)  ค่าร้อยละ  (%)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  และการทดสอบค่า (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยเท่ากับ 21.38 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 71.29 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์  13  คน  คิดเป็นร้อยละ 72.22 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับแผนผังความคิด  เฉลี่ยเท่ากับ 22 คิดเป็นร้อยละ 73.33 ของคะแนนเต็ม  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 72.22  ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
Research Articles

References

จตุพร สมดี. (2553). ผลของกรเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิด
ของเดรสเซลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถในการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ)ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการ สอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
เทพสถิต ตะรุวรรณ. (2560) การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญญาเป็นฐานด้วยชุดกิจกรรม
ทางนิติวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธันยกานต์ ใจบุญ. (2560) การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
คิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่วมกับเทคนิคการสอนอ่านSQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมธาวี โกมลไสย.(2560) การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความของนักรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับ
กระบวนการ GPAS. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริพร วุทธนู. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2560). 21 วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.
กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อัครวัฒน์ ศรีสวัสดิ์. (2557). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ในการเรียนรู้เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิตโดยใช้รูปแบบการสอน
แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์
ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรุณ เชื้อสีดา. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนผังมโน
ทัศน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Allen and Linda Quinn (2006). Investingating Culture Through Cooperative
Learning. Foreign Language Annals, 39(1), 11- 12.
Brett D. Jones, Chloe Ruff, Jennifer Dee Snyder, Britta Petrich and
Cherlsea Koonce. (2012). The Effects of Mind Mapping Activities on
Students Motivation. International Journal for the Schlarship of
Teaching and Learning, 6 (1),1-12. Nebojsa Stankovis, Carisa Besic, Milos
Papic and Veljko Ajeksic (2011). The evaluation of using mind maps
in teaching. Techniques technologies education management,
6(1), 1-22.
Noonan and Maria (2013) Mind maps : Enhancing midwifery education.
Nurse Education Today, 33(8), 847-852.
Szostek and Carolyn (1994). Assessing the effects of cooperative
learning in an honors foreign language classroom. Foreign Language
Annals, 27, 252 – 261.