กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

รัตน์วดี อินทะกนก
นวัตกร หอมสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้การประกันคุณภาพภายใน โรงเรียน และ 2) เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายใน จำนวน 21 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกรายการเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษากระบวนการจัดการความรู้การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน คือ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างความรู้ (3) การแสวงหาความรู้ (4) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (5) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (6) การเข้าถึง และ (7) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 2) ผลการพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดหนองบัวลำภู ได้โครงการทั้งหมด 26 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการส่งเสริมการอ่าน (2) โครงการพัฒนาทักษะการเขียน (3) โครงการฝึกทักษะคณิตคิดเร็ว โดยใช้โปรแกรม GSP และA-Math (4) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net) 5) โครงการการเรียนการสอน 2 ภาษา EP (6) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ (7) โครงการให้ทุนการศึกษา (8) โครงการธนาคารโรงเรียน (9) โครงการการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ (10) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน (11) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ (12) โครงการการนิเทศภายใน (13) โครงการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนภายในโรงเรียน (14) โครงการพัฒนาระบบงานสารบรรณ (15) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร (16) โครงการสานสัมพันธ์สถานศึกษากับชุมชน (17) โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และปรับสภาพภูมิทัศน์ (18) โครงการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนกลุ่มโรงเรียน (19) โครงการเพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนการสอน (20) โครงการค่ายวิชาการ (21) โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (22) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ (23) โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ (24) โครงการนิเทศภายใน (25) โครงการการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ และ (26) โครงการพัฒนาและดูแลระบบสารสนเทศ DLIT


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

นวัตกร หอมสิน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2546). การนำเสนอระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัชจริยา ใบลี. (2551). การศึกษารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ ประกอบการใหม่. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
เตือนใจ รักษาพงศ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นวัตกร หอมสิน. (2556). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพ: บริษัทตถาดา พับลิเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). เรียนรู้การจัดการความรู้ในภาคการศึกษา จากมหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ระดับภูมิภาคและระดับชาติ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แคนนากราฟฟิค.
สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2549). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
Kucza, Timo. (2003). Knowledge Management Process Model. January 25, 2020.
Marquardt, M.J., & Reybolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New Yok: McGraw-Hill.
McKeen, J.D. & Smith, H.A. Making IT Happen. (2003). Critical Issues in IT Management. Ontario: Wiley.
Nonaka, I. and H. Takeuchi. (2000). The Knowledge-creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York: Oxford University.