การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วรสุดาพร ปัญญาฟู
ทิพาพร สุจารี
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนสวนสน อำเภอเมืองขอนแก่น ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน แผน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.61/82.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55/S.D.=0.26)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ทิพาพร สุจารี , หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุ สภาลาดพร้าว.
ชัยวัฒน์ สุทธิวัฒน์.(2554) นวัตรกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ :
แดเน็กซ์อินเตอร์ คอรัปเรชั่น.
ชูจิตร เนื่องโนราช.(2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยการเรียนแบบ
ร่วมมือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันทวัน กองธรรม.(2556). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้จัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม
สุกัญญา เพชรล้ำ.(2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์
โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือ STAD ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6.หลักสูตรและการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรภา สีลารัตน์. (2557). การประเมินความแตกต่างประสบการณ์การเรียนรู้เรื่อง คำและ
หน้าที่ของคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ด้วยเทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม.
อุทุมพร ชีวานุตระ. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบร่วมมือ STAD. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Slavin, E Robert. (1995), Cooperative Learning: Theory, Research and Practice.
(4thed.). Boston: Allyn and Bacon.