การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้อัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระอุดมปัญญาภรณ์
ธยายุส ขอเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อวิเคราะห์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนาจากกลุ่มเป้าหมาย นำผลสนทนามาวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนพรรณนาบรรยาย พร้อมเสนอแนวคิดของผู้วิจัย โดยมุ่งตอบตามวัตถุประสงค์และปัญหาที่ต้องการทราบ จากการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เป็นลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มหรือความเจริญงอกงามที่แสดงออกมาในรูปแบบของภาษา คติ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะที่มีการสืบทอด ปฏิบัติและมีการยอมรับในระดับบุคคลและสังคม รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แบ่งการดูแลออกเป็น 4 ด้าน คือ(1) ด้านการส่งเสริม (2) การป้องกัน (3) การรักษา (4) การฟื้นฟูสภาพ มีองค์ประกอบของผู้สูงอายุ 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านสังคม ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นการดูแลรักษาทั้งกายและใจไปพร้อมๆกัน เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีงามยิ่งขึ้นไป การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ธยายุส ขอเจริญ, Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Sisaket Buddhist College

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Sisaket Buddhist College

References

ประสาท อิศรปรีดาและคณะ. (2518). ความเชื่อและสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวอีสาน.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2551) สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ : บริษัท สหพริ้มติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
สำลี รักสุทธี. (2549) ฮีตสิบสองคลองสิบสี่. กรุงเทพฯ : พ.ศ.พัฒนา จำกัด.
เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. (2555) นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์,วารสาร
รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. ปีที่ 1 เล่มที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย.2555)
สุทัศน์ ประทุมแก้วและคณะ. (2561). ศึกษาภูมิปัญญาด้านการผสมผสานความเชื่อและการ
ประกอบพิธีกรรมของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการวิจัย : สถาบันวิจัย
พุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.