รูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนริมน้ำจันทบูร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำจันทบูร (2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนริมน้ำจันทบูร (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนริมน้ำจันทบูร
ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) 11 คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิเครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structure In-Depth Interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว (Face-to-Face In-Depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation) (2) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 190 คน จากจำนวนประชากร 364 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นมาและวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำจันทบูร พบว่า ชุมชนริมน้ำจันทบูร เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในอดีตเคยเป็นศูนย์การค้าที่รุ่งเรือง ชุมชนที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวของศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ศิลปกรรม และผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวจะได้รับความรู้ไปในตัวด้วย นั่นคือการเที่ยวไปแล้วก็เรียนรู้ไปด้วย ชุมชนริมน้ำจันทบูรนั้น เป็นชุมชนเส้นทางสายเศรษฐกิจวัฒนธรรม ที่สะท้อนความเข้มแข็ง ความมีวิสัยทัศน์ที่ดี น่าสนใจในการขับเคลื่อนชุมชนแห่งวิถีวัฒนธรรมนี้ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง 2. การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนริมน้ำจันทบูร ในด้านการดำเนินวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ ด้านการดำเนินวิถีชีวิตด้านสังคม ด้านการเป็นสังคมเมือง ด้านการดำเนินวิถีชีวิตและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม3. รูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนริมน้ำจันทบูร พบว่า ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นชุมชนที่มีความหลากหลาย ด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา จนกลายมาเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนริมน้ำจันทบูร อันเป็นทุนทางสังคมวัฒนธรรม เพราะรูปแบบการดำเนินชีวิตในอดีตส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปในทางเรือไม่ว่าจะเป็นการค้า การขาย การติดต่อกัน, ส่วนรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบันจะดำเนินไปทางด้านการขนส่งทางบก เปลี่ยนแปลงจากสภาพในอดีตที่เป็นทางเรือ มาเป็นการคมนาคมทางบก หรือรถแทน เป็นชุมชนที่อาศัยอยู่สำหรับค้าขายส่วนใหญ่ ปัจจุบันจะเป็นประชากรแฝง ที่มาเช่า หรือเซ้งกิจการ เซ้งร้าน เช่าร้าน การค้า การขาย และการลงทุน รูปแบบที่ตลาดท่องเที่ยวไทยต้องการ ความต้องการที่จะอนุรักษ์และนำเสนอมิติความเป็นชุมชนในแบบที่เป็นตัวของตัวเอง พาณิชย์จังหวัดเข้ามาเพื่อเสนอแผนการท่องเที่ยวในรูปแบบของเส้นทางสายเศรษฐกิจวัฒนธรรมจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ดี ที่ดึงดูดผู้คนเข้ามาในจังหวัด
Article Details
References
ทิวเมฆ นาวาบุญนิยม. (2558). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
นิสรา ใจซื่อ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษ: วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 20, 64.
______. (2551). คลังหลวงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์.
ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย. (2552). มรดกวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำจันทบูร. วารสารวิถีชุมชนคนริมน้ำ: จันทบูร.
______. (2556). ชุมชนริมน้ำจันทบูร. เชียงใหม่: โชตนาปริ้นท์ จำกัด.
พระมหาประทีป พรมสิทธิ์. (2545). การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระมหาปกาศิต สิริเมโธ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเทพ ศรีบุญเพ็ง และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์. (2558). การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจของร้านชัยเจริญ เมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม- สิงหาคม.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟรเพซ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2550). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ :คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุธาวัลย์ เสถียรไทย และคณะ. (2550). บทความเรื่องตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด: มิติสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สิทธิเดช นิลสัมฤทธิ์และมนตรี เกิดมีมูล. (2548). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: ทิพเนตร์การพิมพ์.
วรรัตน์ เกตุเพชร. (2550). การเรียนรู้การใช้ชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาประชาชนในเขตตำบลแซร์ออ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2546). ถอดรหัสเศรษฐศาสตร์เพื่อเข้าใจเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัท แสงดาว.
Hawkins. D. I. Best. R. J. & Coney. K.A. (2001). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy. 8 th ed. New York: McGraw Hill.
Schieffer. L.G. and Kanuk. (1970). Consuer Behavior 7 the. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice hall International.