รูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

รุ่งนะภา คำภูษา
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
กมลาส ภูวชนาธิพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดที่ส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมตามหลักพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) การศึกษาครั้งนี้มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวคิดส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมตามหลักพุทธจิตวิทยา ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย และ ระยะที่ 3 นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  แบบสอบถามเพื่อการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติแบบบรรยาย (Descriptive Statistics) การทดสอบค่าที (T-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปแบบพรรณนา  ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัยโดยใช้หลักจิตวิทยาทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์และกีเซลผนวกกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคืออิทธิบาท 4 ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย 2. รูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย โดยมีกิจกรรม คือ 1) ด้านกาย  2) ด้านจิต  3) ด้านสังคม และ4) ด้านปัญญา 3. การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัยนั้นพบว่าก่อนใช้รูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.75) ด้านที่มีค่าสูงที่สุดคือด้านสุขภาวะทางสังคม (ค่าเฉลี่ย 2.85) รองลงมาคือ ด้านสุขภาวะทางจิต (ค่าเฉลี่ย 2.81) ต่ำสุดคือด้านสุขภาวะทางปัญญา (ค่าเฉลี่ย 2.55) หลังจากใช้รูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัยพบว่าหลังเข้าร่วมรูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.88) โดยด้านที่มีค่าสูงสุดคือด้านสุขภาวะทางกายและด้านสุขภาวะทางปัญญา (ค่าเฉลี่ย 4.78) รองลงมา คือด้านสุขภาวะทางสังคม (ค่าเฉลี่ย 4.50) ต่ำสุดคือด้านสุขภาวะทางจิต (ค่าเฉลี่ย 4.44) ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบโดยการใช้ Paire Samples t-test ผลพบว่ารูปแบบการเรียนรู้แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของเด็กปฐมวัย ไม่ต่างจากการเรียนในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

รุ่งนะภา คำภูษา, Mahaculalongkornrajavidyalaya University

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

สิริวัฒน์ ศรีเครือดง , Mahaculalongkornrajavidyalaya University

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

กมลาส ภูวชนาธิพงษ์, Mahaculalongkornrajavidyalaya University

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

References

เกษศิรินทร์ ศรีสัมฤทธิ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครูด้าน
การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นริสานันท์ เดชสุระ. (2552).รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตปฐมวัยของมหาวิทยาลัย
ราชภัฎ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิรัชญา ยี่สุ่นเรื่อง. (2560).การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการ
เล่านิทานประกอบภาพ. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2537). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย.กรุงเทพฯ:
ธรรมสภา.
______. (2537) แสวงหาทางออกจากวิกฤตภัยใต้ความซับซ้อนของสังคมไทย. กรุงเทพฯ :
ภัคธรรม.
พระมหาบันเทิง ปาณิโต (เครือจินดา), (2549).การประยุกต์พุทธธรรมเพื่อการสงเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัย.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
พิศาระวี วีระพงศ์พร. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถาน
ประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.


รอฮันนี เจะเลาะ. (2561). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย โดยการจัด
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ใช้นิทานประกอบภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎ
ยะลา.ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). แนวทางการพัฒนา
เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ:บทเรียนต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนัก
มาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการครุสภา. (2549). ชุดวิชาการจัดการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาและ ส่งเสริมวิชาชีพกระทรวงศึกษาธิการ.
สุภิมล จันทรักษา. (2552). การจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: การศึกษา
วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ.
อารีย์ คำสังฆะ. (2554). การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุด
กิจกรรม“เล่นกับลูกปลูกภาษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Write,T.J.. (2000). Educational Governance and Administration. New Jerseey: Prentice-Hall.