คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

พระเดวิศณ์ สุขถาวโร
ประจิตร มหาหิง
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำเป็นการที่ผู้นำในหน่วยงานหรือองค์กรได้ใช้ศักยภาพทั้งศาสตร์และศิลป์ของตนนั้นนำพาและจูงใจผู้ร่วมงานนั้น ปฏิบัติด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การและเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในการใช้กระบวนการบริหารของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นหรือกลุ่มคนโดยการกระตุ้นจูงใจให้เชื่อถือ ยอมรับกระทำหรือไม่กระทำบางอย่างตามเป้าหมาย ลักษณะและคุณสมบัติของภาวะผู้นำ คือ การแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาวะผู้นำที่มีในองค์การที่มีทั้งในผู้นำและผู้ตามขององค์กรนั้น สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จทั้งในองค์กรของตนเองและองค์กรอื่น จนขยายสู่องค์การระดับประเทศ ซึ่งต้องอาศัยการมีภาวะผู้นำทั้งสิ้น ทฤษฎีด้านภาวะผู้นำมีความแตกต่างกันตามแนวความคิดและประสบการณ์ของนักวิชาการแต่ละสมัย โดยแนวคิดทฤษฎีต่างๆ มีข้อดีและข้อบกพร่องแตกต่างกันออกไป ไม่อาจหาข้อยุติได้ว่า ทฤษฎีใดถูกต้องมากที่สุดเพราะแต่ละทฤษฎีมีคุณประโยชน์ในแง่ใดแง่หนึ่งเสมอ ซึ่งผลจากการศึกษาข้อบกพร่องและการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีต่างๆของนักวิชาการได้ทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดความคิดที่มีผู้เสนอไว้แต่เดิมและพยายามศึกษาในเชิงลึกมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อชนรุ่นหลังที่จะได้นำแนวคิดไปเป็นแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาปรับปรุงต่อไป ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีกระบวนทัศน์ในการบริหารการศึกษาจะนำไปสู่ความสำเร็จนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการวางแผน การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งการ การประสานงาน และการควบคุมงานให้มีระบบเป็นไปตามแผน และมีประสิทธิภาพผู้บริหารจึงสามารถจัดการศึกษาในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย และมาตรฐานทางการศึกษาสามารถปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเหมาะสมกับสถานที่พัฒนาคนให้เจริญก้าวหน้าทันวิทยาการอย่างแท้จริง โดยจะต้องมีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งการพัฒนาตนเองและการพัฒนาภาวะผู้นำจากหน่วยงาน

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ประจิตร มหาหิง , สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Compus, Thailand.

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Compus, Thailand.

References

กวี วงศ์พุฒ. (2550), ภาวะผู้นำ, กรุงเทพฯ :สถาบันพัฒนาวิสัยทัศน์นักบริหาร.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2549), แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษานิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เฉลิมชัย สมท่า. (2547), การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูปฏิบัติการสอนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชาญชัย อาจินสมาจารย์. (2541), การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์.(2545), กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน. พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพฯ :
เอ็กซ์เปอร์เน๊ท, 2545.
ธีระ รุญเจริญ.(2553), ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.
กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2547), ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
เซ็นทรัลเอ็กเพรส.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549), พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), (2547), พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546), ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ ธรรมสภา.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548), หลักธรรมมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชัยมงคมพริ้นติ้ง.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2542), ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
รัตติกรณ์ จงวิศาล.(2551), ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้า
สมพงษ์ สิงหะพล.(2547), ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา :สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
สิปปนนท์ เกตุทัต.(2551), วิสัยทัศน์กว้างไกลปฏิบัติได้ผลจริง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.(2544), การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติใน
การบริหารการศึกษา หน่วยที่ 12. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Draft. R. L. (2003), Management. (6thed.). (Australia: Thomson South-Western.
Shaffer, J. (2000), The Leadership solusion. New York: Mc Grew – Hill.
Steer, R.M. (1977), Organizational effectiveness: A behavioral view. Santa
Monica, CA: Goodyear.