การพัฒนาการสื่อสารเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพในองค์กร

Main Article Content

พระมหาพิษณุ สญฺญเมโธ
วีรกาญจน์ กนกกมเลศ
ไว ชึรัมย์

บทคัดย่อ

บุคลิกภาพมีความสำคัญมากต่อการพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าชุมชน ผู้พูดหรือนักพูดจะต้องมีบุคลิกภาพที่ต้องตาผู้ฟัง บุคลิกภาพมีความสัมพันธ์กับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนจนการฝึกอบรมในปัจจุบันหลายๆ หลักสูตรมักจะมีเนื้อหาบุคลิกภาพกับการพูด เช่น หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดแบบผู้นำฯลฯ เราจะเห็นว่าบุคลิกภาพภายในของนักพูดมีความสำคัญมากในการพูด สำหรับบุคลิกภาพภายนอก ผู้พูดที่มีบุคลิกภาพที่ดีมีส่วนช่วยให้ ประสบความสำเร็จในการพูด ผู้พูดต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้ดีด้วยโดยการปฏิบัติตามกระบวนการ พัฒนาบุคลิกภาพ 4 ขั้น คือ วิเคราะห์ตนเอง การปรับปรุงแก้ไข การแสดงออก และการประเมินผล บุคลิกภาพด้านต่างๆ ที่ควรพัฒนาในการพูด ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย การปรากฏกาย การใช้สายตา การใช้เสียง การใช้กิริยาท่าทาง การสร้างความเชื่อมั่นในตนเองนอกจากพัฒนาบุคลิกภาพด้านดังกล่าวแล้ว การพัฒนาเกี่ยวกับการใช้ภาษาในการพูดก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาอยู่เสมอเช่นเดียวกัน

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

วีรกาญจน์ กนกกมเลศ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ไว ชึรัมย์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์. (2548), พูดได้ พูดเป็น. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
เสนาะ ผดุงฉัตร, (2540), วาทศาสตร์ ศิลปะเพื่อการพูด, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัญชลี แจ่มเจริญ, (2530), จิตวิทยาธุรกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูสวนสุนันทา.
สุภาวิณี โลหะประเสริฐ. (2556), การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยใช้วิธีการแสดง
บทบาทสมมติของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวในรายวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภาคเรียนที่ 1/2556. รายงานวิจัยในชั้นเรียน.ภาควิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา,
Hilgard, Ernest. (1962), R.Introduction to Psychology.rd. New York: Marcourt,Brace & World Inc.