การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และในทางกลับกันเศรษฐกิจและสังคมก็เป็นกลไกสำคัญที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะทั้งโดยทางตรงในระดับท้องถิ่นและทางอ้อมในระดับชาติ การมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าวจะนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านคุณภาพระบบบริการและการดูแลประชาชน การมีส่วนร่วมทางการเมืองเปิดโอกาสให้ประชาชนมีบทบาทในการบริหารตนเองโดยตรงในระดับท้องถิ่นตลอดจนบริหารประเทศทางอ้อมในภาพรวม เพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมโดยตรงทางกายภาพไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบเครือข่ายเชื่อมโยงกับภาครัฐ ทั้งนี้การได้รับผลสะท้อนจากประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชนหรือท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 เป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับตลอดทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน การเมืองระดับท้องถิ่นจึงเป็นรากฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง นอกจากนี้ การพัฒนาประชาธิปไตยจำเป็นต้องอาศัยหลักการกระจายอำนาจเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ และลงมือกระทำการทางการเมืองอันเป็นการสนองต่อระบอบประชาธิปไตยที่ครอบคลุมทั่วถึงคนทุกกลุ่มตามแบบวิถีปฏิบัติของอารยะประเทศ การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่มดังกล่าวยังเป็นการยอมรับและให้ความสำคัญต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของปัจเจกบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย นอกจากนี้การละเว้นหรือการเลือกปฏิบัติโดยไม่มีเหตุผลอันควรถือว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย หลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวเป็นรากฐานสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มและทุกระดับผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
Article Details
References
ชุมชน พ.ศ.2551-2554 กรุงเทพฯ: บริษัทรำไทยเพรส จำกัด,
ปรีดี พนมยงค์ (2516), การชุมนุมสนทนาที่สามัคคีสมาคม (สมาคมนักเรียนไทย) ประเทศ
อังกฤษ, 28 กรกฎาคม 2516
พงศ์โพยม วาศภูติ (2554), การประชุมคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นฯ ครั้งที่ 1/2554
ณ ห้องรำไพพรรณี สถาบันพระปกเกล้า 22 ธันวาคม 2554
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) สยามสามไตร สู่อนาคตที่สดใส ด้วยการศึกษาไทยวิถี
พุทธ. กรุงเทพฯ :พิมพ์สวย,2552
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ, (2556), การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
และการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย”, สถาบันวิจัยพุทธ
ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ราชกิจจานุเบกษา 124, 47ก (24 สิงหาคม
2550): 1-127, ส่วนที่ 10 หมวดสิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา 56 และ 57และในส่วนที่ 12 หมวดสิทธิชุมชน มาตรา 67
วิรัช นิภาวรรณ การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: บทบาทขององค์กรในท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์, 2535
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง, (2551), ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา, กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจ
พอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สถาบันพระปกเกล้า (2544), แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2544), การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.