ผลของกระบวนการพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาทางไปรษณีย์ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID - 19

Main Article Content

วันวิสาข์ ทิมมานพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาทางไปรษณีย์ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาทางไปรษณีย์ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ใช้สถิติบรรยาย สำหรับข้อมูลทั่วไปและใช้ t-test 2กลุ่มสัมพันธ์และ t-test 2 กลุ่มอิสระเพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการ สามารถพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

ดุษฎี กวนคอนสาร. (2553). พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์. (2553). พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2555). กายหายไข้ใจหายทุกข์. พิมพ์ครั้งที่ 53. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลัดดา พลพุทธา. (2553). พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัฒนา พลชาติ. (2553). ศึกษาวิเคราะห์วิธีการพัฒนาปัญญาตามแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วันวิสาข์ ทิมมานพ. (2559). กระบวนการพุทธจิตวิทยาการปรึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อายุษกร งามชาติ. (2554). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนภาวะบกพร่องทางความรัก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

เอื้อมอร ชลวร. (2553). การพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อุทิศ สุภาพ. (2563). COVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563 จาก https://www. matichon.co.th/article/news_2073848.

EOC-DDC Thailand. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563 จาก https://ddcportal.ddc. moph.go.th/Z26.

Collins O. (2013). Airhihenbuwa et al. “Why Culture Matters in Health Interventions: Lessons From HIV2AIDS Stigma and NCDs”, Health Education & Behavior.

Li, Xianhong. et al. (2011).Stigma Mediates the Relationship Between Self-Efficacy, Medication Adherence, and Quality of Life Among People Living with HIV/AIDS in China, American Journal of Plublic Health, October.