ผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย:กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย: กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของพรรคการเมืองกับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ
ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของพรรคการเมืองต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยและ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารพรรคการเมืองไทยที่เหมาะสม การวิจัยใช้แนวทางการผสมผสานด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ผู้บริหารพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จำนวน 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอกของพรรคการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองและ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ ด้านบุคลากร ด้านกฎข้อบังคับ ด้านงบประมาณ และด้านสถานที่ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การพัฒนาความเป็นสถาบันทางการเมือง การพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง การพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมของผู้นำและสมาชิกพรรค การพัฒนาบทบาทและความสำคัญของพรรคการเมือง และ การพัฒนาเสถียรภาพทางการเมืองตามลำดับ การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอก ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของพรรคเพื่อไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในระดับสูงและ ปัจจัยภายในด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่และด้านกฎข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในระดับสูงและโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัยภายในมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยร้อยละ 63.31 (r2=6.331) ส่วนปัจจัยภายนอกไม่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย
Article Details
References
ต้องลักษณ์ บุญธรรม, (2559), การสั่งสมความรู้ของสังคมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
สมัยใหม่, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
บุญชม ศรีสะอาด, (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 12 กรอบยุทธศาสตร์ชาติชาติ 20 ปี
(พ.ศ.2560-2579)
รัตติกรณ์ จงวิศาล, (2553) พัฒนาเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดสุขภาวะทางจิตวิญญาณเพื่อ
การพัฒนา, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์,12 มีนาคม 2563)
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์,17 มีนาคม 2563,)
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์,10 มีนาคม 2563)
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์, 12 มีนาคม 2563,)
นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เหรัญญิกพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์, 3 เมษายน 2563)
นายจักรพงษ์ แสงมณี นายทะเบียนพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์, 21 มีนาคม 2563)
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์, 27 มีนาคม 2563)
นายประพนธ์ เนตรรังสี กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (สัมภาษณ์,16 มีนาคม 2563)