ขันติธรรม : กระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

Main Article Content

พระครูสิริคณาภิรักษ์
สราวุฒิ งาหอม
ชุมพล ศรีราตรี
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ

บทคัดย่อ

การวิจัย ขันติธรรม : กระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักขันติธรรมกับการดำเนินงานของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และ 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ เน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงภาคสนาม (Field Research) ซึ่งสามารถสรุปผลของการวิจัยตามข้อค้นพบได้ดังต่อไปนี้


 


ผลการวิจัยพบว่า


หลักขันติธรรมกับการดำเนินงานของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ผู้นำมีการดำเนินงานทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักขันติ 4 ประการ คือ 1) ความอดทน อดกลั้นต่อความลำบาก ตรากตรำ 2) อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย 3) อดกลั้นต่อ ถ้อยคำด่าว่าหยาบคาย คำเสียดสี และ4) อดกลั้นต่อพลังอำนาจบีบคั้นของกิเลส


กระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา พบว่า มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม ประกอบด้วย (1) กระบวนการทางกฎหมาย (2) กระบวนการทางหลักธรรม (3) กระบวนการทางวัฒนธรรม และ(4) กระบวนการทางประเพณี 2) ด้านการเมือง 3) ด้านเศรษฐกิจ และ4) ด้านการศึกษา


วิเคราะห์กระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ผู้นำมีกระบวนการสร้างสันติ 4 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม ได้แก่ (1) การใช้กฎหมายปกครองเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย (2) การใช้หลักธรรม เช่น หลักสาราณียธรรม และหลักขันติธรรม เพื่อให้เกิดความรัก สามัคคี ความเข้มแข็ง 3) วัฒนธรรม ส่งเสริมให้มีการแต่งกาย การเคารพผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดความงดงาม และความรักเมตตา และ 4) ประเพณี เช่น ประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่ เพื่อให้เกิดความ ผูกพัน ความสุข สงบ 2) ด้านการเมือง ส่งเสริมหลักประชาธิปไตย มีการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง3) ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าขาย และการสร้างอาชีพ และ 4) ด้านการศึกษา ผู้นำมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในชุมชน และให้การพัฒนาชุมชนอยู่เสมอ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สราวุฒิ งาหอม, Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ชุมพล ศรีราตรี, Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ไครซิสกรุ๊ป นักการทูต, (2553). รายงานของไครซิสกรุ๊ปเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยได้ในรายงานเอเชียฉบับที่ 121 Thailand: The Calm before Another Storm? (ประเทศไทย: ความสงบก่อนพายุอีกลูกจะมาเยือน?), เผยแพร่ 11 เมษายน 2554; รายงานเอเชียฉบับที่ 192 Bridging Thailand’s Deep Divide (ประสานรอยแยกในประเทศไทย), เผยแพร่ 5 กรกฎาคม 2553.
พุทธทาสภิกขุ, (2537). ทศพิราชธรรม, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา,
พระราชนันทมุนี (ภิกขุ ปัญญานันทะ), (2525).คำสอนผู้บวชใหม่ อบรมพระนวกะ, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร: หจก. การพิมพ์พระนคร.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, (2555),“แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับชุมชนและเครือข่ายทางสังคม”,เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุต.โต), (2555). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
มารค ตามไท, (2543). การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสันติวิธี: ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความมั่นคง, กรุงเทพมหานคร: สถาบันยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.