การส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพของกลุ่มผู้ปลูกพืช (ทุเรียน) ในจังหวัดศรีสะเกษตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพของกลุ่มผู้ปลูกพืช (ทุเรียน) ในจังหวัดศรีสะเกษตามแนวพระพุทธศาสนา” นี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพ (ทุเรียน) ของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพตามหลักพระพุทธศาสนา (3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพของกลุ่มผู้ปลูกพืชสวน (ทุเรียน) ในจังหวัดศรีสะเกษตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นงานวิจัยเขิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและการสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
ปัจจัยด้านรายได้และอาชีพเสริมจะทำให้เกิดความมั่นคง จึงต้องมีแนวทางส่งเสริมความมั่นคง เช่น การจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารหนี้เสีย การเพิ่มเติมความรู้ ช่องทางการผลิตและจัดจำหน่าย และพื้นฐานของตัวเกษตรกรเองที่จะมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ ส่วนการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพตามแนวพุทธประกอบด้วย 1. หลักการน้อยคล้อยหลักใหญ่ มีหลักการน้อยใหญ่มากมายที่ส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน 2. การส่งเสริมมั่นคงตามหลักสุจริตธรรม การซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ 3. การส่งเสริมความมั่นคงตามหลักธรรมอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ จิตตะ วิมังสา
รูปแบบการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพ ประกอบด้วย 10 รูปแบบ ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบเดิมที่มีอยู่ให้ดี 2) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจัดเป็นตลาดนัดทุเรียนหรือตลาดนัดสีเขียว 3) ลดต้นทุนในการดูแลรักษา การผลิต 4) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ 5) คุณภาพของทุเรียน 6) การอบรมเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอ 7) การรวมกลุ่มทำสวนทุเรียนแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์/ผสมผสาน 8) มีแหล่งน้ำพอเพียง 9) การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและ 10) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร รูปแบบเหล่านี้เกษตรกรสามารถร่วมมือกับหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ภาครัฐ และเอกชน ในการดำเนินการได้ เป็นประโยชน์ มีคุณภาพ มีความสุข และพอเพียง
Article Details
References
พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 7,(กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สริยา จันทร์เพ็ญ. (2550). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงในงาน ความเป็นครอบครัว และการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง กับความภักดีในองค์การและความพอใจในงาน กรณีศึกษา : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เฉพาะบริษัท คราฟท์ เดอะ เบสท์ จำกัด และบริษัท พี ที เทรดดิ้ง จำกัด” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหามกุฎราชวิทยาลัย.
เสนาะ ผดุงฉัตร. (2547). “เศรษฐกิจตามวิถีพุทธ”, พุทธจักร, ปีที่ 58 ฉบับที่ 6
เสริมสุข สลักเพ็ชร์ และคณะ, (2550). “โครงการการจัดการผลิดทุเรียนคุณภาพสำหรับบริโภคสดเพื่อการส่งออกในลักษณะเครือข่ายธุรกิจที่มีความมั่นคงและยั่งยืนระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).