ผลการใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ปนัดดา แสงทอง
นนทชนนปภพ ปาลินทร
อภิรดี ไชยกาล
ชลิลลา บุษบงก์
จิตโสภิณ โสหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลองรวม 4 สัปดาห์ ในวันจันทร์-วันศุกร์ วันละ 30 นาที เวลา 14.30-15.00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบวัดทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (dependent-samples t-test analysis) ผลการวิจัย พบว่า ทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีคะแนนโดยรวมและรายทักษะอยู่ในระดับสูงและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นนทชนนปภพ ปาลินทร, Ratchathani University

Ratchathani University

อภิรดี ไชยกาล, Ratchathani University

Ratchathani University

ชลิลลา บุษบงก์ , Ratchathani University

Ratchathani University

จิตโสภิณ โสหา, Ratchathani University

Ratchathani University

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุ สภาลาดพร้าว.
. (2547).คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี).
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). หลักสูตรก่อนประถมศึกษา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2551),การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ:เอดิสันเพรสโปรดักส์.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ทอรุ้ง สำเร็จเฟื่องฟู. (2558). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อ
พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนคริทร์.
พรทิพย์ กันทาสม. (2552). ผลการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2539). คู่มือหลักสูตรก่อนประถมศึกษา
พุทธศักราช 2540 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ :หน่วยศึกษานิเทศน์
กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2560).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) [ออนไลน์].
เข้าถึงข้อมูลวันที่ 30 ธันวาคม 2560.https://www.gotknow.org/posts/626632.
สิริมา ภิณโญอนันตพงษ์. (2550). การศึกษาปฐมวัย.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2554). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชนการ
ใช้เกมประกอบการสอน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นตริ้ง.
สุวิทย์ มูคคำ. (2547). 19 วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ, พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ : ภาคพิมพ์
อารยา ระศร. (2552). ผลการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการด้านสติปัญญาชั้น
อนุบาลปีที่ 2 โดยเกมการศึกษาตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม