การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในชีวิตประจำวันของประชาชน ในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ดร.จักรี ศรีจารุเมธีญาณ
ดาวฤดี ศรีษะเกษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น จำนวน 394 คน นำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลวิจัยพบว่า


  1. ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 394 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.27 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.73 มีอายุ 41 - 60 ปี ร้อยละ 39.09 อายุ 21 - 40 ปี ร้อยละ 36.04 อายุ ต่ำกว่า 21 ปี ร้อยละ 15.74 และอายุ 61 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 9.14 มีระดับการศึกษา ประถมศึกษา ร้อยละ 29.19 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 26.56 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 22.59 ปริญญาตรี ร้อยละ 10.91 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 10.15 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 0.51 มีอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 32.23 รับจ้าง ร้อยละ 27.92 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 19.04 เกษตรกรรม ร้อยละ 17.01 และรับราชการ ร้อยละ 3.81 มีรายได้ต่ำกว่า 5,001 บาท ร้อยละ 37.56 5,001 – 10,000 บาท ร้อยละ 29.19 10,001 – 15,000 บาท ร้อยละ 28.68 15,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 3.81 และ 20,001 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 0.76

  2. การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.94) เมื่อพิจารณาการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ในแต่ละด้านพบว่า 1) ด้านความพอประมาณ อยู่ในระดับมาก (X = 3.95) 2) ด้านความมีเหตุผล อยู่ในระดับมาก (X = 3.95) 3) ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว อยู่ในระดับมาก (X = 3.76) 4) ด้านเงื่อนไขความรู้ อยู่ในระดับมาก (X = 3.92) 5) ด้านเงื่อนไขคุณธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.12)

  3. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ 1) ด้านความพอประมาณ ควรปรับปรุงเรื่องของการยึดหลักพอเพียง รู้จักประมาณ อดออมใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล และควรจัดอบรมวางแผนการใช้จ่ายสิ่งของอย่างประหยัดรอบคอบให้แก่ชุมชน 2) ด้านความมีเหตุผล ควรปรับปรุงเรื่องของการควรมีการวางแผนการใช้จ่ายมีเหตุผลอย่างเหมาะสม มีเหตุผลรับฟังข้อเสนอแนะคนอื่น และอยากให้ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักกินเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย 3) ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ควรปรับปรุงเรื่องของการจัดอบรมของชุมชนเพื่อเตรียมตัวพร้อมรับทุกสถานการณ์ ควรมีความอดทนต่อสิ่งล่อตาทั้งหลาย และอยากให้ฝึกทำบัญชีรายรับ/รายจ่าย 4) ด้านเงื่อนไขความรู้ ควรส่งเสริมเรื่องของการจัดอบรม เพื่อให้มีความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์นำความรู้มาแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด และให้มีแหล่งศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน 5) ด้านเงื่อนคุณธรรม ควรจัดอบรมปลุกฝังคนให้รู้จักคุณธรรม/เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และควรมีความซื่อสัตย์กับหน้าที่การงาน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ดาวฤดี ศรีษะเกษ, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

Mahamakut Buddhist University

References

กมลรัตน์ ลันไธสง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรูตามศาสตร์พระราชาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับ การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สิริรัตน์ สังสุทธิ. (2558). การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความพร้อมสู่
ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาสังกัดสำพักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ดาราวรรณ พรหมกัลป์. (2551). การศึกษาผลการคำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างอำเภอปัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศรีวิชัย สุระชาติ. (2561). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านงิ้ว. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีสะเกษ.
ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2555). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลและครัวเรือนขอ ประชาชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). “รายงานสถานการความ ยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2553”. (20 กรกฎาคม 2562).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). “ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสหนึ่งปี
2562 และแนวโน้มปี 2562”. (20 กรกฎาคม 2562).
บัณฑิต นิจถาวร .(2562) . “ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ”. 19 ตุลาคม 2558. (20 กรกฎาคม 2562).
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). “รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี
พ.ศ. 2561”. (2561). 16 ตุลาคม 2562.
Taro Yamane. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York : Harper & row.