ประสิทธิภาพการบริหารศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 กองบัญชาการตำรวจนครบาล

Main Article Content

ธานินทร์ มุมทอง
อติพร เกิดเรือง

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพการบริหารศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางประสิทธิภาพการบริหารศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิจัย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุ จำนวน 200 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก 2 กลุ่ม จำนวน 13 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 4 คน กลุ่มที่ 2 ผู้แจ้งเหตุ จำนวน 9 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 มี 6 ปัจจัย คือ ด้านการรับแจ้งเหตุ (X5) ด้านบุคลากร (X1) ด้านงบประมาณ และการเงิน (X2) ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ (X3) ด้านความสามารถเจ้าหน้าที่ (X6) และด้านคุณภาพการบริการ (X8) ส่งผลในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 53.50 2) แนวทางประสิทธิภาพการบริหารศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ควรมีการดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ (1) ด้านนโยบายในการประชาสัมพันธ์ของศูนย์ฯ (2) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (3) ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และ (4) ด้านทักษะ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อติพร เกิดเรือง , รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

References

กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (2563). คู่มือปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
แห่งสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติศักดิ์ ปลาทอง, วิภาวี กฤษณะภูติ, ณรงค์ศักดิ์ บวรวงศ์พิทักษ์, ภีมพจน์ น้อมชอบพิทักษ์ และ
พรธิภา องค์คุณารักษ์. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพของโครงข่ายศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
191 เพื่อเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระจัย. (2560). โลจิสติกส์ 4.0. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561
จาก http://ioklogistics.blogspot.com/2017/07/40-logistics-40.html
ทมนี สุขใส. (2553). การบริหารความสัมพันธองค์ประกอบของซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ธนกร สิริธร. (2560). พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อ
ความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมาในโรงงานย่านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
นิตย์รดี ใจอาษา. (2555). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการในองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชการการจัดการภาครัฐ
และภาคเอกชน), วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญญา รุ่งศรีสุทธิวงศ์, สรัลพร เสือดี, ธนานพ ทองถาวร และสุเมธ ประภาวัต. (2558). ระบบ
ประสานงานระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุและรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. การประชุมวิชาการ
ระดับประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 7 29-30 ตุลาคม 2558, หน้า 52-56.
กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พีพีทีวี. (2561). ครม.สั่งรวบเบอร์โทรฉุกเฉิน “191” เบอร์เดียวแจ้งทุกเหตุ. สืบค้นจาก
https://www.pptvhd36.com/news/
เพ็ญพักตร์ ตันติดำรงค์. (2558). การประเมินคุณภาพการให้บริการประชาชนโครงการศูนย์รับแจ้ง
เหตุฉุกเฉิน 191 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ: ศึกษากรณีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล.
ผู้จัดการออนไลน์. (2560). จนท.ศูนย์รับแจ้งเหตุ 1669 แจ้งจับผู้โทรศัพท์ป่วนการทำงานช่วงเทศกาล
ปีใหม่. สืบค้นจาก https://mgronline.com/local/detail/9590000129660
วัชราพร งามสมมิตร. (2559). บทบาทหน้าที่ผู้จัดการกองถ่ายภาพยนตร์ของบริษัท ทรีสตูดิโอจำกัด
กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง Secret Side ลับ ลวง หลอก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา และกฤษณา ดวงแก้ว. (2556). การบริหารการ
เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ: การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ตัวชี้วัด. สืบค้นจาก http://www.wiruch.com
ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191. (ม.ป.ป). เอกสารการปฏิบัติงานศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191. กรุงเทพฯ:
ผู้แต่ง
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพ ฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมเดช ฐิตวัฒนะสกุล. (2556). ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้นจาก
https://mgronline.com/local/detail/9570000071464
สำนักงาน กสทช. (2560) .โครงการแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ผ่าน SMS หมายเลข 191 โดยไม่คิด
ค่าบริการเพื่อเพิ่มช่องทางแจ้งเหตุร้ายให้แก่ประชาชน. สืบค้นจาก
https://www.nbtc.go.th/News/Information/aspx.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พ.ศ.2560-
2579). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. สืบค้นจาก
http://policebudget.go.th/sites/default/files/01.pdf
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2554). ระบบการควบคุมทางการบริหารสําหรับผลการปฏิบัติงานขององค์การ
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรม, 2(1), 215-228. สืบค้นจาก
file:///C:/Users/up-load/Downloads/58944-Article%20Text-137663-1-10-
20160616.pdf
Allen, I.E. & Seaman, C.A (2007). Likert scales and data analyses. Quality Progress, 40,
64-65.
Bartol, K.M., & Martin, D.C. (1997). Management. (2nd ed.). New York: McGraw - Hill.
Cronbrach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper
Collins. Publishers.
Dessler, G. (2004). Management principles and practices for tomorrow’s leaders.
New Jersey: Pearson Education.
Drucker, P.F. (1974). Management tasks responsibilities practices. New York:
Harper & Row.
Dubin, A.J. (1995). Leadership: research findings, practice, and skills. Boston: Houghton
Koontz, H. & Weihrich, H. (1990). Essential management. New York: McGraw-Hill
Likert, R. (1984). Pattern in manage in models for management: The structure of
Competence. Texas: Telemetrics International.
Pipe,T.B., Corner, K., Dansky, K., Schraeder, C., & Caruso, E. (2005). Perceived
Involvement in decision-making as a predictor of decision satisfaction in older adults. Southern Online Journal of Nursing Research, 6(4), 1-12.
Robbins, S.P. & Coulter, M. (2003). Management. (7th ed). New Jersey: Engle
Wood Cliffs.
Stoner, J.A.F., & Wankle, C. (1986). Management. (3rd ed). New York: Prentice-Hall.
Ziethaml, A.P., Parasuraman, V.A., & Berry, L.L. (1985). A Conceptual model of service
Quality and its implication for future research (SERVQUAL). Journal of
Marketing, 49, 41-50.