การเรียนรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีที่มีผลต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์ชายแดนไทย-กัมพูชา

Main Article Content

พระครูไพโรจน์วัฒนาทร
ธยายุส ขอเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัย การเรียนรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีที่มีผลต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาการเรียนรู้ด้านสื่อและเทคโนโลยีของประชาชนตามแนวชายชายแดนไทย –กัมพูชา 2.เพื่อศึกษาปัจจัยอิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยีที่มีต่อพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา และ 3. เพื่อวิเคราะห์สื่อและเทคโนโลยีที่มีต่อพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ คือเน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงภาคสนาม (Field Research) ซึ่งสามารถสรุปผลของการวิจัยตามข้อค้นพบได้ดังต่อไปนี้


ผลการวิจัยพบว่า


การเรียนรู้ด้านสื่อและเทคโนโลยีของประชาชนตามแนวชายชายแดนไทย –กัมพูชา พบว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ประชาชนตามแนวชายชายแดนไทย –กัมพูชาให้ความสำคัญ เพราะสามารถทำให้สังคมดำรงอยู่ได้และทำให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวก เกิดการผลักดันสังคมให้พัฒนาไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะการพัฒนาได้นั้น ประชาชนจะต้องได้รับความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ พฤติกรรม วิถีชีวิตที่สอดคล้องเข้ากันได้กับสภาพสังคมที่เกิดขึ้น โดยจำแนกความเข้าใจในการเรียนรู้สื่อและเทคโนโลยี ได้แก่ การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การสื่อสารเพื่อความสัมพันธ์ การสื่อสารกับการพัฒนา กระบวนทัศน์ของการสื่อสาร ประสิทธิผลของการสื่อสาร และการสื่อสารกับกลุ่มคน


ปัจจัยที่มีอิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยีที่มีต่อพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา  ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่


ด้านการศึกษา พบว่า การใช้เทคโนโลยี ทำให้เกิดการเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ผ่าน Email และ Internet การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) 


ด้านศาสนา พบว่า ประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนากันมายาวนาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เชื่อมโยงให้โลกมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ตัวอย่างของผลกระทบ เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เผยแพร่คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม


ด้านวัฒนธรรม พบว่า ประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ใช้รูปแบบที่หลากหลายทั้งการสื่อสารแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา ส่วนมากคนในพื้นที่ภาษาเขมร ปรนภาษาลาว การสื่อสารนั้น สามารถแบ่งออก ได้เป็นการสื่อสารภายในบุคคลการสื่อสารระหว่างบุคคลการสื่อสารระหว่างกลุ่ม การสื่อสารสาธารณะการสื่อสาร ระหว่างวัฒนธรรมและการสื่อสารภายในองค์กร ซึ่งการสื่อสารทุกประเภทนี้ล้วนแล้วแต่เป็นการ สื่อสารที่เกี่ยวข้องกับโดยตรงที่มีในชีวิตประจำวันของประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ทุกคน


ด้านประเพณี พบว่า ประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา นับถือประเพณีหลากหลายเช่น ประเพณีฮีตสิบสองหรือประเพณีปฏิบัติในรอบปี ประเพณีเป็นมรดกของประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา อันทรงคุณค่า ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตของชาวอีสานเป็นจารีตชุมชน กับประเพณีคองสิบสี่ซึ่งหมายถึง แนวปฏิบัติที่ดี 14 ประการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมั่นคงเกิดความ สามัคคีสร้างแบบแผนที่ดีงามให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน มีหลักศีลธรรมจริยธรรมที่เป็นแนวปฏิบัติให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ประเพณีฮีตสิบสองอิทธิพลเหนือชีวิตจิตใจ มีความ สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่เปรียบเสมือนเข็มทิศและปฏิทิน ชีวิตของชุมชนเป็นกฎหมายของสังคมที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติ ตาม โดยมีความเชื่อว่าสังคมใดปฏิบัติตามฮีตคองก็จะ อยู่เย็นเป็นสุข ประเพณีฮีตสิบสองจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการ พัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งได้


ด้านเศรษฐกิจ พบว่า การจะสนับสนุนเร่งเร้าให้ประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา มีความกระตือรือร้นให้ มีความร่วมมือกับรัฐบาลในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในจุดม่งหมายของโครงการ ตลอดจนแผนงานหรือความรู้ความคิดใหม่ๆ ทางวิทยาการไปใช้ ประโยชน์ในการตัดสินใจและการลงทุนทางธุรกิจ  ในอันที่ก้าวสู่การเจริญเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ  เช่น การเผลแพร่โครงการและนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็น การพบปะระหว่างผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ค้าปลีกค้าส่งออก ตลอดจนการกระจายรายได้ในชุมชน ให้ ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ สู่เป้าหมายสูงสุดตามนโยบายของรัฐบาลคือ การเป็นที่รู้จัก ยอมรับ ผลิตภัณฑ์ของไทยในต่างประเทศ และกลายเป็นแหล่งรายได้ของประเทศในที่สุด


ด้านสังคม พบว่า ประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา มีการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไวเบอร์สเปซ (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้า และการบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพคล่องในการติดต่อสมาคมกันในสังคม


ด้านการเมือง พบว่า ประชาชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ใช้สื่อและเทคโนโลยี ในการสร้างความเข้าใจทางการเมืองมากขึ้น และทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางการเมือง เข้าใจทางรัฐศาสตร์ แม้จะไม่ได้เรียนในห้องเรียน เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทำให้การพูด หรือ การเกิดปฏิกิริยาสัมพันธ์ของมนุษย์ ทางการเมืองที่ดีขึ้น


การวิเคราะห์สื่อและเทคโนโลยีที่มีต่อพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มีวัฒนธรรมเป็นลักษณะหนึ่งของสังคมที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะการพัฒนาการ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การปกครอง เทคโนโลยี ฯลฯ  และการมีจำนวนประชากรเพิ่ม มากขึ้น ประกอบกับการที่วัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก จึงทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทางโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคมที่ได้ เปลี่ยนไป ที่สำคัญทำให้วิถีชีวิต ระเบียบแบบแผนที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ระบบใน ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้าน การเมือง ยังคงมีผลต่อชุมชนของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ธยายุส ขอเจริญ, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

ชาญชัย จีรวรรณกิจ.การปรับตัวให้เข้ากบวัฒนธรรมไทยของชาวลัวะในภาคเหนือของประเทศไทย วิทยานิพนธ์บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2529.
สุเทพ สุนทรเภสัช, ความรู้มานุษยวิทยา, แพร่พิทยา กรุงเทพ, 2519.
ยศ สันตสมบัติ, อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ : การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551.