ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านนาคำน้อย2 อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การแบบโครงการและเพื่อเปรียบเทียบความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การแบบโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาคำน้อย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร กำหนดโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 24 คน ใช้เวลาในการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี เวลา 30 - 40 นาที ในกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการจำนวน 12 แผน และแบบสังเกตความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการศึกษาความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ พบว่า เด็กปฐมวัยมีความคิดริเริ่มสูงขึ้นตามลำดับ
- ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีต่อความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05