ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อความสามารถ ในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปาริฉัตร ไชยเดช
นนทชนนปภพ ปาลินทร
มัธยม เรืองแสน
วรรษิษฐา อัครธนวยมนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยภายหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการ กลุ่มตัวอย่างงานวิจัย คือเด็กอายุ 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ทั้งหมดจำนวน 20 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่การจัดประสบการณ์แบบโครงการ จำนวน 2 โครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง .67 - 1.00 และแบบทดสอบการวัดความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง .67 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น .90 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง One - Group Pre - test Post - test Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  t - test for Dependent Samples


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ภายหลังการเรียนรู้ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมและการจัดประสบการณ์แบบโครงการ สามารถพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง

  2. เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ก่อนและหลังการเรียนรู้ หลังการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นนทชนนปภพ ปาลินทร , Ratchathani University

Ratchathani University

มัธยม เรืองแสน , Ratchathani University

Ratchathani University

วรรษิษฐา อัครธนวยมนต์, Ratchathani University

Ratchathani University

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2540). เทคนิคการสรางเสริมปญญาเด็กปฐมวัย. การศึกษาปฐมวัย.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ, สํานักงาน. (2536). เอกสารและผลงานวิจัยการจัดการศึกษาระดับกอนปฐมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพราว
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ. (2530). การฝกสมรรถภาพทางสมองเพื่อพัฒนาคุณภาพการคิด.
ปริญญานิพนธ กศ.ด. (วิจัยพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถายเอกสาร.
ทิศนา แขมณี. (2536). หลักการและรูปแบบพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย. พิมพครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : สํานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ธัญลักษณ ลีชวนเคา. (2544). การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่เลนเกมการศึกษามิติสัมพันธ.
ปริญญานิพนธ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถายเอกสาร.
นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข. (2538). เทคนิคพัฒนากระบวนการคิดและเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้ถึงขีดสุดศักยภาพและยั่งยืน. วารสารการพัฒนาหลักสูตร.
วัฒนา มัคคสมัน. (2539). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบโครงการเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัยอนุบาล. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
สายสุรี จุติกุล. (2543). กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : บางกอก บล็อก - ออฟเซ็ท.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ. (2538). แนวคิดสูแนวปฏิบัติ : แนวการจัดประสบการณปฐมวัยศึกษา
(หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : ดวงกมล.
Katz, L.G.; & Chard, S.C. (1994). Engaging Children’s Minds : The Project Approach.
Norwood: N.J. Ablex. Katz and Chard (2000: 186 - 188)
. (2000). The project approach : An overview. IN J.L. Roopnarine, & J.E Johnson (eds.), Approaches to early childhood education. Pp. 186 - 188. Columbus,
OH : Merrill.