ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 โรงเรียนบ้านหวาย โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการให้การปรึกษากลุ่ม ตามทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเอกัตบุคคล

Main Article Content

พรลภัส เมฆไชยภักดิ์
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
จรูญ คูณมี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 2 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเอกัตบุคคล ที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการเลือกแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลัง การทดลอง          โดยดำเนินการทั้งหมด จำนวน 8 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ครั้งละ 50-60 นาที โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหวาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน คัดเลือกผู้ที่มีคะแนนความวิตกกังวลในลำดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป แล้วคัดเลือกจากผู้ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมกลุ่มได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยใช้รูปแบบการทดลองก่อนและหลังการทดลอง (pretest–posttest one group design) โดยใช้โปรแกรมกิจกรรมแนะแนว การให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเอกัตบุคคลที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการเลือกแผนการเรียน และใช้แบบประเมินความวิตกกังวล ในการเลือกแผนการเรียนสายสามัญ ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยปรับปรุงจาก แบบวัดความวิตกกังวลของ สปิลเบอร์เกอร์ ชื่อ The State-Trait Anxiety Inventory (STAI Form)30 จำนวน 20 ข้อ โดยมีข้อความที่แสดงถึงความวิตกกังวลในทางบวก 7 ข้อ และข้อความที่แสดงถึงความวิตกกังวลในทางลบ 13 ข้อ


             ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีแบบเอกัตบุคคล เพื่อลดความวิตกกังวลในการเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหวาย


 


ก่อนการทดลองมีระดับความวิตกกังวลค่อนข้างมาก และหลังการทดลองไม่มีความวิตกกังวลหรือมีระดับความวิตกกังวลเล็กน้อย โดยจะเห็นได้ว่าหลังจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการร่วมกับการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเอกัตบุคคลกลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, Ratchathani University

Ratchathani University

จรูญ คูณมี, Ratchathani University

Ratchathani University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญผล กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดำรงธรรม
นิติยา คชภักดี, สายฤดี วรกิจโภคาธร และมาลี นิสัยสุข. (2535). ผลของการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลที่มีความวิตกกังวลของมารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลับศรีนครินทรโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 0502334 การให้การปรึกษากลุ่ม. ภาควิชา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณิศา ปลอดโปร่ง. (2555). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองในการ เลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒปทุมวัน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริก หวานกราฟฟิค จำกัด.
อรุณี คงเกษม. (2557). โครงการโลกกว้างทางกีารศึกษา แนะแนวการศึกษาต่อนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเขตวัฒนา.