ผลการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบหนังสือเล่มใหญ่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบหนังสือเล่มใหญ่ และ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบหนังสือเล่มใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนยุวทูตศึกษา 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 15 คน ใช้เวลาในการวิจัยรวม 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (dependent-samples t-test analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
- คะแนนพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การ
เล่านิทานประกอบหนังสือเล่มใหญ่มีคะแนนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบหนังสือเล่ม
ใหญ่ หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
พยัญชนะไทยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลสันป่าตองหลวง จังหวัดลำพูน.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541). การเล่านิทานการศึกษาปฐมวัย, 2(2) : 210-218.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดการเรียนรูสําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.
คณะกรรมการกองทุนศาสตรจารย์.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์.
จีรวรรณ นนทะชัย (2555). ความสามารถทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่า
นิทานประกอบการวาดภาพ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณิรัชญา ยี่สุ่นเรือง. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการเล่านิทาน
ประกอบภาพ. 21 พฤศจิกายน 2561. https://wbscport.dusit.ac.th/view/view.php?id=1495.
ณัฐธยาน์ ยิ่งยงค์. (2553). ผลการเล่านิทานพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัยประกอบภาพที่มีต่อพัฒนาการด้านการ
พูดของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงสมร ศรีใสคำ. (2552). ผลของกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการทางภาษาด้านการพูดของ
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงเดือน ศาสตรภัทร. (2549). การวัดและประเมินพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2536). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. พิมพ์ลักษณ์. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์
กรมการฝึกหัดครู.
บันลือ พฤกษะวัน. (2543). การอ่านเร็ว คิดเป็น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วรรณวิไล เม็งทอง. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านโดยใช้ทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญาควบคู่
กับหนังสือเล่มใหญ่ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
วัชรี เจริญสุข. (2545). การศึกษานิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
รสสุคนธ์ แนวบุตร. (2557). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน
พื้นบ้าน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 7(2).
สมศักดิ์ปริปุรณะ. (2542). นิทานความสําคัญและประโยชน์. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สนิท สัตโยภาส.(2546). หนังสือและบรรณสารสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.
ภาษาอังกฤษ
Holdaway, D. (1982). Shared book experience: Teaching reading using favorite books. Theory
Into Practice, 21(4), 293–300. https://doi.org/10.1080/00405848209543021
Rich, J.H. and M.R. Liebert. (1991). The Child : A contemporary view of development. 3rded.
Englewood Cliffs. N. J : Prentice Hall.