การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ชีวิตและครอบครัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ชีวิตและครอบครัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดอนกลอยวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่องชีวิตและครอบครัว และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ การทดลองโดยดำเนินการทั้งหมด จำนวน 8 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ครั้งละ 50-60 นาที โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดอนกลอยวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย
กึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยใช้รูปแบบการทดลองก่อนและหลังการทดลอง
(pretest –posttest one group design) โดยใช้โปรแกรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ชีวิตและครอบครัว โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.79 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.70 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีความเชื่อมั่น 0.52
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องชีวิตและครอบครัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.39 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เรียนเรื่อง ชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โรงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม และระดับความพึงพอใจในภาพรวมของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องชีวิตและครอบครัว โดยใช้โครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.59 และด้านการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชีวิตและครอบครัว ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
พลศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธัญญณัฐ ชาวเหนือ (2545) การกำหนดโครงงานสำหรับนักเรียนตามรายวิชาภาษาไทยในหลักสูตร มัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ, 3(6), 61-69.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพัฒนาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้ที่ 3 มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สวัสดิ์แก้วหล่อน. (2546). ผลการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมน คณาทิพย์. (2546). ครูสุขศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทสุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์ จากัด.
สุพล วังสินธุ์. (2543, กันยายน). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่โครงงาน. วารสารวิชาการ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด.
อารีรัตน์ ขวัญทะเล. (2546). การศึกษาผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนและตัวเลข ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที 1 ทีมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการโครงงานคณิตศาสตร์ ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อุไร คงมิยา. (2554). ผลการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.