การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ณรงค์กร ไชยประเทศ
ดุจเดือน ไชยพิชิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิตกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงแสนตอ(ผดุงราษฏร์วิทยาคาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นรูปแบบการวิจัยเบื้องต้น Pre-Experimental One Group pretest-posttest design  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวท 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต เรื่อง สมรรถภาพทางกาย 12 แผน จำนวน 12 ชั่วโมง และ 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นแบบทดสอบปฏิบัติ และการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


            


 


             ผลการวิจัยพบว่า


             1.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 88.18/86.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80


             2.ค่าดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6118 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบอดีเวทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ 61.18


             3.เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  พบว่า สมรรถภาพทางกายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ดุจเดือน ไชยพิชิต, North Eastern University

North Eastern University

References

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุดี วรมหาภูมิ. (2538). การใช้ร่างกายเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ริปอง กลติวาณิ. (2555). ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. การศึกษาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วิไลวรรณ เมืองโคตร. (2548). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดกจิกรรม สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนคณิตศาสตร์): บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (255). สถิติพฤติกรรมการเล่นกีฬา ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
สุชาติ โสมประยูร. (2535). การสอนสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.