การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคะแนนการอ่านตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และ 2 ) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านดงแสนตอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนครเขต 2 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นรูปแบบการวิจัยเบื้องต้น Pre-Experimental One Group posttest only design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา 13 แผน จำนวน 13 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน เฉลี่ยเท่ากับ 47.51 ของคะแนนเต็ม 60 คิดเป็นร้อยละ 79.18 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70
2.นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา จำนวนนักเรียน 14 คน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.85 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.25 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 71.42 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
มยุรา อมรวิไลกุล. (2551). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ ภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วันเพ็ญ พวงมะลิ. (2543). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ที่ ใช้ เกม และการ์ตูน เรื่องประกอบการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2533). การพัฒนาการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. กรุงเทพฯ: ประยูร วงศ์จำกัด.
เอื้อมพร ยั่งยืน. (2550). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำ สำหรับนักเรียนที่มีความ บกพร่อง ทางสติปัญญา โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่งด้วยหนังสือเล่มใหญ่. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 6.