การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเพียงหลวง 18 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 16 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลองขั้นต้น แบบวิจัยแบบกลุ่มเดียว มีการวัดผลหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เรื่อง มาตราตัวสะกดไทย จำนวน 9 แผน รวม 11 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ เป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ ชนิดตอบสั้นๆ จำนวน 10 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1 นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดขอนแก่น
1 Graduate students Program in Curriculum and Instruction Faculty of Education, Northeastern University, Khonkaen Province.
2 อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิชาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดขอนแก่น
2 Lecturer to Master of Education (Curriculum and Instruction Subjects), Northeastern University, KhonKaen Province.
ผลการวิจัยพบว่า
- นักเรียนมีคะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ เฉลี่ยเท่ากับ 26.00 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.67 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 89.52 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.69 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48
Article Details
References
กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ.
กมลทิพย์ ศรีนุ่ม. (2558). การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาไทยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชวลิต ชูกําแพง . (2550). การประเมินการเรียนรู. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นงลักษณ์ เจนไร่. (2556). การศึกษาความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาไทย และ
พฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). นครราชสีมา : สำนัก
วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
โรงเรียนเพียงหลวง 18. (2561). หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเพียงหลวง 18
พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.เลย :
โรงเรียนเพียงหลวง 18.
_______. (2562). หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเพียงหลวง 18
พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.เลย :
โรงเรียนเพียงหลวง 18.
_______. (2562). หลักสูตรโรงเรียนเพียงหลวง 18 พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เลย : โรงเรียนเพียงหลวง 18.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
________. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้าวิชาการ.
สุวิมาลย์ ยืนยง. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์
คุรุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สิริรัตน์ บุญพูล. (2562). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ เทคนิคการบูรณาการการอ่านและการเขียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
9(1).408-418.