การพัฒนาทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอลด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอลด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/18 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการสุ่มอย่าง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 แผน 2) แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด 3) แบบวัดทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบอัตนัยฝึกปฏิบัติ จำนวน 4 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการเสิร์ฟ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอลด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.73 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 93.33 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนของกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66
Article Details
References
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องศ์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
จรวย แก่นวงษ์คำ. (2559). วิธีสอนวิชาเอกพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร; โอเดียนสโตร์
โชคชัย จุมพิศ (2553). ผลการสร้างและการใช้แบบฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลในการพัฒนาคุณภาพ การ
เรียนรู้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกุดปราสาท จังหวัดศรีสะเกษ
นริศ ประธรรมสาร. (2554). การพัฒนาทักษะกีฬาวอลเลย์บอลโดยใช้แบบฝึกทักษะ วอลเลย์บอล รายวิชา
วอลเลย์บอล 1 พ 41201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศรีษะเกษ.
ไพชยนต์ ชาติมนตรี (2521). การศึกษาสรรถภาพทางร่างกาย. มหาสารคาม
ไพบูลย์ มูลดี. (2546). การพัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึ กทักษะการเขียนสะกดค าที่ ไม่ตรงตาม
มาตราตวัสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิน คงพูล. (2529). ความพึงพอใจที่มีตอบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการ การ
ประถมศึกษาจังหวัดใน 14 จังหวัดภาคใต. วิทยานิพนธ (กศ.ม.) มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร
วิโรฒ สงขลา.
พยอม สีมาวงษ์ (2552). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง กีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬา
วอลเลย์บอล. โรงเรียนโชคเพชรพิทยา. จังหวัดสุรินทร์.
มยุรี ยืนยิ่ง. (2552). การพัฒนาแบบฝึ กทักษะกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6โรงเรียนบ้านหนองจอก จังหวัดสุรินทร์.
มยุรี เหมือนพันธ์. (2535). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬา
วอลเลย์บอล. จังหวัดเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
วิโรจน์ มุทุกันต์. (2535). วอลเลย์บอล. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ : กรุงเทพฯ
สิริรัตน์ ทวีตั๊งตระกูล. (2550).การสร้างแบบฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสาหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3.
ศรีรัตน์ บำรุงชาติ (2550).การพัฒนาทักษะการเล่นวอลเลย์บอล โดยใช้แบบฝึกทักษะการเล่น วอลเลย์บอล
เรื่อง “ทักษะการเล่นลูกบอลสองมือบน (ลูกเซท)”.