หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

สุทธิวิทย์ วิลัยริด
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์
บุญรัตน์ อุตส่าห์
กาญจนา อุตตรวิเชียร

บทคัดย่อ

หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์มี
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน
จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อนำเสนอหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งมีขั้นตอนคือ (1) กำหนดประเด็นในการค้นคว้าให้สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและปัญหาการวิจัยที่ต้องการทราบ (2) กำหนดฐานข้อมูลที่ใช้ใน
การศึกษาอันประกอบด้วยฐานข้อมูลที่ได้จากแหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ คัมภีร์ พระไตรปิฎก อรรถกถาหรือฎีกา ชั้นรองลงมา และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ได้แก่ หนังสือเอกสาร บทความวิทยานิพนธ์และสารบรรณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) สังเคราะห์ข้อมูล โดยการลดทอนข้อมูล เลือกหาจุดที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาเท่านั้น ตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องจากข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจะดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นเดียวกัน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่จากการกลั่นกรองจัดระบบข้อมูลด้วยการจำแนก และแปลความโดยวิเคราะห์ผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นสำคัญเพื่อให้ได้ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบด้วยวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงการทำงานของผู้นำในการยึดหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการทำงานและ บริหารสถานศึกษาเป็นไปตามหลักการด้านประชาธิปไตยการยึดเสียงข้างมาก คือเสียงส่วนใหญ่ เสียง ครูและกรรมการสถานศึกษามาเป็นแนวทางในการวางนโยบายในการพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดความเข้มแข็ง อยู่ดีมีสุข มีความเสมอภาคทุกภาคส่วนของการทำงานประกอบด้วย1) ด้านหลักนิติธรรม 2) ด้านหลักคุณธรรม 3) ด้านหลักความโปร่งใส 4) ด้านการมีส่วนร่วมคือการมีส่วน 5) ด้านความ
รับผิดชอบ 6) ด้านหลักความคุ้มค่า 2. แนวทางเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยสรุปเป็นภาพรวม ดังนี้ คือ รณรงค์ให้ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานภายในองค์กรอย่างจริงจังสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายและการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการ
บริหารงานที่เคร่งครัดและชัดเจน มีการจัดการอบรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม มีการสรรค์สร้าง
กิจกรรมอันก่อให้เกิดความสามัคคีต่อกันโดยเน้นการทำงานโดยมุ่งผลประโยชน์สถานศึกษาเป็นหลัก
ในการยึดมั่นในความถูกต้อง ความดีงาม ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน โดย
ดำเนินการในรูปของการสร้างเครื่องมือ กติกาในการประเมินงานต่าง ๆ ที่ชัดเจน อุทิศตนให้กับการ
ทำงานและมีจิตสาธารณะ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย มีแผนแม่บทอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์
อักษรและสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการ
ทำงานร่วมกันและการดำเนินงานต่าง ๆ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ พัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้
ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้งานมีความรวดเร็วมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ของการบริหารการพัฒนาอยู่และอยู่ดีมีสุข 3. นำเสนอหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์พบว่าสภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X = 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับปฏิบัติสูงสุดคือ หลักนิติธรรม ( = 3.94)
รองลงมาคือ หลักคุณธรรม (X = 3.90) และด้านความรับผิดชอบ (X = 3.86) ตามลำดับ
ส่วนด้านที่มีระดับปฏิบัติต่ำสุดคือ หลักความคุ้มค่า (X = 3.84) ผลการเปรียบเทียบจำแนกตาม
ตำแหน่งโดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ยกเว้นด้านหลักคุณธรรมมีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 การทดสอบ
ความแตกต่างเป็นรายคู่ของสภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน
มัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ด้านหลักการมีส่วนร่วมมีความ
คิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา
ขนาดเล็กมีความคิดเห็นแตกต่างจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่
ส่วนบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาขนาดกลางและบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษา
ขนาดใหญ่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน    


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

บุญรัตน์ อุตส่าห์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

กาญจนา อุตตรวิเชียร, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

เจริญ เจษฎาวัลย์. (2547). การวางแผนมาตรฐานธรรมาภิบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
พอดี จำกัด.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน
จำกัด.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะและบุญมี ลี้. (2546). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. รายงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ผจญ อหันตะ. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจีระศักดิ์ จิรสกฺโก, (ศรีปราบ). (2555). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุวรรณ ทองคำ. (2554). ภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฎเทพสตรี.