การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo

Main Article Content

อุไร เปรมทา
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
วรรษิษฐา อัครธนยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง  การคูณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะในการสอนแบบ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  Team  Pair  Solo  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในเครือข่ายวารินชำราบ  1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ทักษะการทำงานกลุ่ม  ความมีวินัยในการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง  การคูณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะในการสอนแบบ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  Team  Pair  Solo  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนในเครือข่ายวารินชำราบ  1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย  (Sample  Random)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  6  ประเภท  คือ  1) แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  การคูณ  จำนวน  10  แผน  มีคุณภาพในด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง  ความสอดคล้อง  และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน  2) แบบฝึกทักษะโดยใช้การสอนแบบร่วมมือ  Team  Pair  Solo  จำนวน  10  ชุด  มีคุณภาพในด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง  ความสอดคล้อง  และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด  4  ตัวเลือก  15  ข้อ มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การวัด  เท่ากับ  1.00  ทุกข้อ มีคาความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 4) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  5) แบบประเมินความมีวินัยต่อการจัดการเรียนรู้ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้  มีค่าความสอดคล้องกับจุดประสงค์การวัดเท่ากับ 1.00 ทุกรายการ  มีความเหมาะสมของเกณฑ์การให้คะแนน  ความเหมาะสมของเกณฑ์การแปลความหมาย  และความเหมาะสมของเกณฑ์การตัดสินการให้คะแนนอยู่ในระดับมาก  การวิจัยในครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติดังนี้  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติที  (t - test) กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว  และสถิติที  (t - test) กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยสรุปได้  ดังนี้


          1 ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง  การคูณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  Team  Pair  Solo  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 


                   1.1 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง  การคูณ  พบว่า  กรณีก่อนเรียน  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ  เมื่อทดสอบแล้วนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  และกรณีหลังเรียนพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูง เมื่อทดสอบแล้วนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05


                   1.2  ด้านทักษะการทำงานกลุ่มพบว่า  ในภาพรวมนักเรียนมีทักษะการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับสูง เมื่อทดสอบแล้วสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  เมื่อพิจารณาเป็นรายแผน  พบว่า  ทั้ง  10  แผน  นักเรียนมีทักษะการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับสูงทุกแผน  เมื่อทดสอบแล้วสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05


                   1.3  ด้านความมีวินัย  พบว่า  ในภาพรวมนักเรียนมีวินัยในการเรียนอยู่ในระดับสูง   เมื่อทดสอบแล้วนักเรียนมีวินัยในการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  เมื่อพิจารณาเป็นรายแผนพบว่า  ทั้ง  10  แผน  นักเรียนมีวินัยในการเรียนอยู่ในระดับสูงทุกแผน  เมื่อทดสอบแล้วสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05


                   1.4  ด้านความพึงพอใจในการเรียนในภาพรวมพบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อพบว่า นักเรียนพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ  เมื่อทดสอบนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในรายด้าน  พบว่า  ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน  ด้านสื่อการสอน  ด้านการประเมินผล  ทั้ง 3 ด้านนี้นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด  ส่วนด้านเนื้อหาและด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอน  นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด  เมื่อทดสอบแล้วนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05


  1. ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง  การคูณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  Team  Pair  Solo  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม , Ratchathani University, Ubon Ratchathani

Ratchathani  University, Ubon  Ratchathani

วรรษิษฐา อัครธนยานนท์ , Parichat Suphimaros, Instructor of Faculty of Law,Ratchathani University

Parichat  Suphimaros, Instructor  of  Faculty of Law,Ratchathani  University

References

กนกพร บุญแซม. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย หน่วยทำดี อย่าหวั่นไหว
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษา อุบลราชธานีเขต 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบฉลาดรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กลอยใจ มณทาหอม ถนอมศักดิ์ กนกวรรณากร ถวิล ศรีสุข นิตยา นพพิบูลย์
พรณิภา วิยาสิงห์ และ พิชญช์ามญช์ (2550) .การศึกษาผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3/6 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2550
ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน.ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและ
การสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ชุติมา เสาทอง,ดารุณี นิยม,วิไลพร,วีนัสรา ชาวนา,สมนึก,อัญชลี ดอกยี่สุ่น. (2550). การศึกษาผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหารเลขยกกำลัง ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบฝึก ,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชธานี.
วัชรี หงส์อนุรักษ์ . (2556 ). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อ
พัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรสุดา บุญยไวโรจน์. ( 2542 ). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
เรื่องน่ารู้ สำหรับครูคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ศุภานันท์ นันตะวงษ์. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
หน่วย What are you doing? ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนใน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมในการสอน
แบบ CIIPA. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชธานี.
สุกัญญา จันทร์แดง. (2555). ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและความสามารถในการทางานร่วมกันวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยา
ลัยศิลปากร.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2548, พิมพ์ครั้งที่ 1. รูปเล่ม, หน้า 1.