การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านนามึน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จํานวน 12 คน ซึ่งไดมาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใชในการวิจัยมี 4 ชนิด ไดแก 1) แผนการจัดการเรียนรูแบบร่วมมือ Team Pair Solo จํานวน 14 แผน ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบฝึกทักษะ จํานวน 14 ชุด ผลการประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคาความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยคำถามทั้งหมด 15 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ สามารถนำไปทดลองใช้ได้ การวิจัยในครั้งนี้วิเคราะห์ขอมูลโดยการหาคารอยละ คาเฉลี่ย คาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที กรณีกลุมตัวอยางเดียว (One sample t-test) และสถิติที กรณี กลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (Dependent sample t-test)
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
- แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามขั้นตอนการสอนแบบร่วมมือ Team Pair Solo เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.70/81.25 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
- ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo มีค่าดัชนีประสิทธิผล EI= 66.91 คิดเป็นร้อยละ 66.91
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนามึน ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนามึน มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
References
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
ชุติมา เสาทอง,ดารุณี นิยม,วิไลพร,วีนัสรา ชาวนา,สมนึก,อัญชลี ดอกยี่สุ่น. (2550). การศึกษาผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหารเลขยกกำลัง ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบฝึก ,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชธานี.
ทิชากร ทองระยับ, ธนิน กระแสร์, วันทนีย์ นามสวัสดิ์ .(2557). ผลการใช้แบบฝึกทักษะ
เรื่องความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่เรียนรู้ตาม ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ,บุรีรัมย์.
ธนัญชัย เดชพลกรัง. (2551). "การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีการเรียนรู้
แบบมีส่วนร่วม วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6". ครุศาสตร์มหาบัณฑิต,
สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประภาพร ถิ่นอ่อง. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา (วิจัยและพัฒนาการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิยรัตน์ จาตุรันตบุตร. (2547). หลักการคณิตศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
โรงเรียนบ้านนามึน. (2561). แผนปฏิบัติการโรงเรียนบ้านนามึน ฉบับปรับปรุงใหม่ พุทธศักราช 2561.
จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนบ้านนามึน.
สุกัญญา จันทร์แดง. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนแลความสามารถในการทำงานร่วมกันวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาจารีย์ สฤษดิ์ไพศาล. (2547). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
วิทยานิพนธ์.คม., มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ,อุบลราชธานี.
Estes,T.H., & Vaughan., J.L. , Jr.(1985). Measuring attitudes. In reading and
learning In the classroom .(2nd ed.) Newton : MA: Allyn & Bacon
Lie, A. 2002. Cooperative Learning: Mempraktikkan Cooperative Learning
diRuang-Ruang Kelas. Jakarta: PT. Grasindo
Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher psychological
Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.