วิธีสอนทางเลือกของครูสังคมศึกษาในยุคสถานการณ์โควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
มีโรคระบาดเกิดขึ้น ชื่อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน และได้มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันทางการแพทย์สามารถรักษาหายเป็นบางส่วนแต่ก็ยังพบผู้ติดเชื้ออยู่มาก ในช่วงเดือน เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลไทยมีการสั่งให้ปิดประเทศและออกกฎบังคับใช้ให้ทุกคนอยู่บ้าน ตามราชกิจจานุเบกษาข้อกำหนดประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 5, 6 ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียน และสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่เป็นการดำเนินการสื่อสารแบบทางไกล หรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วย ครูสังคมศึกษาเองก็มีการปรับเทคนิคช่องทางการสอนใหม่ใช้วิธีสอนทางเลือกเพื่อให้เข้ากับยุคสถานการณ์โควิด 19 เพื่อให้ผู้เรียนยังได้รับความรู้แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงในการดูแลตนเองเพื่อตนเองและสังคมในแบบใหม่ ยอมรับในความเปลี่ยนแปลง ความแตกต่างจากเดิม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลกได้สืบไป
Article Details
References
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงสาธารณะสุข.(2563). ข้อมูลถามตอบเกี่ยวกับโควิด19.
ออนไลน์, https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
[16 สิงหาคม 2563].
โชตรัศมิ์ จันทน์สุคนธ์.(2551).วิชาสังคมศึกษา:ศาสตร์แห่งการบูรณาการ,
(วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2551)
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์.(2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19:
จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. ออนไลน์,
https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-
covid-19-pandemic/ [17 พฤษภาคม 2563].
วิภาพรรณ พินลา.(2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความ
รับผิดชอบต่อสังคม,( Veridian E-Journal, Silpakorn University
ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1
เดือนมกราคม – เมษายน 2561
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.(2542).การส่งเสริมศาสนาและพัฒนาจิตใจและการ
ป้องกันแก้ไข ปัญหายาเสพติด. (เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). ตัวชี้วัดและสาระการ
เรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Aksorn (2563). เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของโลกการศึกษาจากวิกฤติ โควิด-19 แล้ว
อนาคตทางการศึกษาจะเป็นอย่างไรต่อไป. ออนไลน์
https://www.aksorn.com/learningviaonline [16 ตุลาคม 2563].