การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

Main Article Content

ปิยณัฐ ทั่งจันทร์แดง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อทราบระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการ บริหารงานโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19                              2) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร และครู โรงเรียน ศรีบุญเรืองวิทยาคาร จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้ หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 19 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยจากมาก ไปน้อย ได้แก่ หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม และหลักความ โปร่งใส

  2. แนวทางการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ควรส่งเสริมให้มีความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มีมาตรการลงโทษผู้ที่กระทำผิดวินัย และให้ความดีความชอบแก่ผู้ที่ประพฤติดี ด้านหลักคุณธรรม ควรจัดอบรมปีละ 1 ครั้ง เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้านหลักความโปร่งใส ควรแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงาน มีการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะชนอย่างสม่ำเสมอ ด้านหลักความรับผิดชอบ ควรมีการรับผิดชอบผลจากการกระทำของตนเอง ด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ วางแผน และปฏิบัติงานร่วมกัน ด้านหลักความคุ้มค่า ควรใช้ทรัพยากรทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ยึดหลักความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546.
จรัส อติวิทนาภรณ์. หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 สงขลา : เทมการพิมพ์, 2554.
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่, “ คนเด่น,” วารสารนักบริหาร 20, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2543), 6.
เฉลิมชัย สมท่า, “บริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ปฏิบัติการสอนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1” รายงานการศึกษาอิสระ
ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. การบริหารจัดการที่ดี (good governance). กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2543.

ชาญชัย พิงขุนทด, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลใน สถานศึกษากับความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 ตามทัศนะของครู” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2552.
ไชยวัฒน์ คําชูและคณะ. ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : บริษัทสํานักพิมพ์น้ำฝน จํากัด, 2545.
ธนันชัย รัตน์ไตรแก้ว, “การประเมินการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์”
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.
ธีรยุทธ บุญมี. ธรรมรัฐแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนัก พิมพ์สายธาร, 2541.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อนงค์ศิลป์, 2527.
นิกร นวโชติรส,“การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น” รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.
นันทพล เรืองริวงค์ , “การศึกษาการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายเทวาธิราชตามความคิดเห็นของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระแก้ว
เขต 2” งานนิพนธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552.
บุษบา ชัยเจริญวัฒนะและบุญมี ลี้. รายงานการวิจัยตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
ประพัฒน์ โพธิ์วรคุณ. สรุปคําบรรยาย เรื่องหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีส่งเสริม การปฎิรูปการศึกษา. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 2554.
ประเวศ วะสี, การปฏิรูปการศึกษายกเครื่องทางปัญญาทางสมองจากความ หายนะ, (กรุงเทพ :
มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์, 2541), 3.
ปรีดา พรหมดี, “การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา เชียงใหม่ เขต 6” การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
ปรียากร พิรพัชยานันท์,“การบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1” (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม, 2553), ง.
พรรณงาม แจ่มนิยม, “การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาอําเภอปรายพระยา
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา, 2553.
พรหมเมศว์ คําผาบ,“การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาขอนแก่น” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2550
พระยุทธนา ชุดทองม้วน,“การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2550.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546,”
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120, ตอนที่ 100 ก (9 ตุลาคม 2546), 2.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
120, ตอนที่ 62ก (6 กรกฎาคม 2646), 15.
พรินทร์ เพ็งสุวรรณ,“ธรรมาภิบาลกับประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาลผลการวิจัย”
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.
มณีรัตน์ ภิญโญภาพสกุล , “การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้หลักธรรมภิบาลในโรงเรียน”
(ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา,2549), 68.
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี
พ.ศ.2542,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 63 ง (10 สิงหาคม 2542), 24-25.
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 62ก (6 กรกฎาคม 2646) : 15.
__________.ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง (10 สิงหาคม 2542) : 24-25.
__________.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546.
รัชยา ภักดีจิตต์. ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
ศิรินารถ นันทวัฒนภิรมย์,“การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาล อําเภอเมือง
ลําพูน” (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2547.
สถาบันพระปกเกล้า. วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : พิมพ์ดี, 2550.
สามารถ อินตามูล, “การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 5” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.

สุภัทรา นุชสาย, “ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา
สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
สุดจิต นิมิตกุล,กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีในการปกครองที่ดี (กรุงเทพฯ :
บพิธการพิมพ์, 2543), 17-18.
สุรชัย ขวัญเมือง, “ธรรมาภิบาล,” วารสารครุศาสตร์ 8, 4 (กันยายน–ธันวาคม 2548), 28-29.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. รายงานการจัดการศึกษา ประจําปี งบประมาณ
พ.ศ.2556. สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร. รายงานประจําปี 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. หลักธรรมภาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.
กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2555.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ประกาศเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, 26 ตุลาคม พ.ศ.2554.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ,หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี,
(กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุ เบกษา, 2555), 9-10.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ประกาศเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559, 26 ตุลาคม พ.ศ.2554.
อัมพร พุดมี, “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี”
(รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551 )
Clarke, อ้างถึงในสุจิตรา มีจํารัส, “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของ
ผู้บริหารสถานศึกษา” (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร2550), 62.
Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper & Row Publishers, 1974.
Joost, Hendrik Tennekes. “Donors and Good Governance : Analysis of a policy discourse in the Netherlands and Germany.” (Ph.D.Dissertation,University Twente, 2005), 27.
Likert, Rensis. New Pattern of Management (New York: McGraw-Hill Book Company,
1961.