การยืมคำภาษาเขมรในภาษาไทย

Main Article Content

ลลิตา พิมรัตน์
วีรกาญจน์ กนกกมเลศ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการยืมคำภาษาเขมรในภาษาไทย โดยศึกษาภูมิหลังและลักษณะคำยืมภาษาเขมรที่ปรากฏในภาษาไทย พบว่า เขมรเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์มานานทั้งทางการค้า การสงคราม การเมืองและวัฒนธรรม เขมรมีอิทธิพลเหนือดินแดนสุวรรณภูมิก่อนกรุงสุโขทัยหลายร้อยปี จากการมีอาณาเขตติดต่อกันทำให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ภาษาถิ่นเขมรก็คล้ายคลึงกับภาษาพูดของชาวอีสานใต้ของไทย ตลอดจนชาวภาคตะวันออกตามชายแดนไทย – กัมพูชาด้วย จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของทั้งสองประเทศต่างมีวัฒนธรรมประเพณีที่เหมือนกันมาก แม้กระทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนรวมทั้งภาษาต่างก็ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะภาษาเขมร 1) ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด คำส่วนใหญ่มีเพียง 1 - 2 พยางค์ ใช้อักษรขอมหวัด มีพยัญชนะ 33 ตัว เหมือนภาษาบาลี คือ วรรคกะ ก ข ค ฆ ง, วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ วรรค ฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ,วรรคตะ ต ถ ท น ธ วรรคปะ ป ผ พ ภ ม ,เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อ 2) ภาษาเขมรไม่มีวรรณยุกต์แต่อิทธิพลคำยืมบางคำให้เขมรมีรูปวรรณยุกต์ (+)ใช้ 3) ภาษาเขมรมรสระจม 18 รูป สระลอย 18 รูป แบ่งเป็นสระเดี่ยวยาว 10 เสียง สระผสม 2 เสียง ยาว 10 เสียง สระเดี่ยวสั้น 9 เสียง สระประสม 2 เสียง สั้น 3 เสียง 4) ภาษาเขมรมีพยัญชนะควบกล้ำมากมาย มีพยัญชนะควบกล้ำ 2 เสียง ถึง 85 หน่วยและพยัญชนะควบกล้ำ 3 เสียง 3 หน่วย

Article Details

บท
Articles
Author Biography

วีรกาญจน์ กนกกมเลศ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จิตร ภูมิศักดิ์. (2535). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ศยามบริษัทเคล็ดไทย จำกัด.
ศานติ ภักดีคำ. (2549). พจนานุกรมคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย ฉบับฉลองครบรอบ 55 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–กัมพูชา. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2550). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
David Chandler. (2017). A History of Cambodia, second edition. Bangkok: DatAsia Press.