หลักภาวนา 4 กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ นิลทะการ
ปาณจิตร สุกุมาลย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานตามหลักภาวนา 4 ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน พฤติกรรมการบริโภคอาหารและเพิ่มการออกกำลังกายเป็นการดูแลตนเองที่สำคัญ การพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด หลักภาวนา 4 เป็นหลักธรรมที่ประยุกต์ใช้ในการสร้างความสุขในดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานคือ 1) กายภาวนา เป็นการดำเนินชีวิตประจำวันตามแนวพุทธศาสนา ควรมีการรักษาสุขภาพอย่าสม่ำเสมอ 2) สีลภาวนา เป็นด้านพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตควรมีการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิก่อนอนเป็นประจำวัน 3) จิตภาวนา ผู้ป่วยเบาหวานควรอยู่อย่าพอเพียงไม่วิตกกังวลการใช้ชีวิต หมั่นทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น และ 4) ปัญญาภาวนา ผู้ป่วยเบาหวานต้องมีการพัฒนาปัญญาของตนเอง ตามแนวพุทธศาสนาเมื่อผู้ป่วยเบาหวานสามารถพึ่งพาตนเองได้บวกกับการผสมผสานกับการดูแลรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันจะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าใจชีวิตรู้จักประพฤติปฏิบัติตนเอง บังเกิดผลทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น สามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยดี และใช้ชีวิตอย่างปกติสุข

Article Details

บท
Articles
Author Biography

ปาณจิตร สุกุมาลย์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus

References

เทพ หิมะทองคำ และคณะ.(2548). ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพมหานคร: จูนพับลิชซิ่ง.
นวินดา นิลวรรณ,สิทธิโชค ปาณะศรี,พระครูโกศลอรรถกิจ.(2563). การประยุกต์ใช้หลัก
ภาวนา 4 ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมผู้สุงอายุ.วารสารมหาจุฬา
นครทรรศน์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (มีนาคม).
พระครูวินัยธรชาติชาย สมาจาโร (เชียงชะนา). (2561). พุทธวิธีดูแลตนเองของผู้ป่วย
โรคเบาหวาน. วารสารวิจัยวิชาการ, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม).
พระครูวิสุทธิสัจจาภรณ์ (สมชาย วงศ์ละคร).(2554).การใช้พุทธธรรมเพื่อบำบัดโรคเบาหวาน
ของพระสงฆ์ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารธรรมทรรศน์, ปีที่ 15
ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ตุลาคม).
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). 2544. พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รพีพร สิงขรอาสน์.(2545).ผลของการเยี่ยมบ้านโดยประยุกต์แบบจำลองระบบของนิวแมน
ต่อการปฏิบัติตัวและระดับค่าฮีมาโตคริตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
จากการขาดธาตุเหล็กในอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยมหิดล.
รสิตา ธรรมสาโรชต์. (2563). เทคนิคการเสริมพลังการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 3
(พฤษภาคม-สิงหาคม).
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล.(2559). รู้จริงและเข้าใจสุขภาพผู้สูงวัยและภาวะสมองเสื่อม.
กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี.(2560). แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: บริษัทร่มเย็นจำกัด.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.(2555). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ.
กรุงเทพมหานคร : บริษัทบียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.