ทักษะการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

กุลธิดา มะลิวัลย์
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์
พระฮอนด้า วาทสทฺโท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารตามหลักอิทธิ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อเสนอแนวทางทักษะการบริหารหลักตามหลักอิทธิ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดหนองบัวลำภู รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยวิธีวิทยาแบบผสม สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน โดยรวมและรายด้านปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเทคนิควิธี รองลงมา คือ ด้านมนุษย์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านด้านความคิดรวบยอด 2) หลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน โดยรวมและรายด้านปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านจิตตะ รองลงมา คือ ด้านวิริยะ ด้านวิมังสา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านฉันทะ 3) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามตำแหน่งและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางทักษะการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน มีข้อเสนอแนะให้นำหลักธรรมเกี่ยวกับหลักอิทธิบาท 4 บูรณาการเข้ากับทุกทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเชิงประจักษ์

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus

พระฮอนด้า วาทสทฺโท, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.
ชลวรรณ ไชยวิชิต. (2544). ความต้องการในการพัฒนาทักษะการบริหารของผ้บริหารธนาคารออมสิน: ศึกษาเฉพาะกรณีผ้บริหารในสังกัดธนาคารออมสินภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ชะโลม เล็ดลอด. (2548). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธวัชชัย นิลประดับ และคณะ. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1).
ธีระ รุณเจริญ. (2553). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส.
นพดล บุญถนอม. (2542). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของครูสังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคล และสุภาพ ฉัตรภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
พิทูร มลิวัลย์. (2540). แบบเรียนวิชาธรรมและนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
พระอภินันท์ กนฺตสีโล (สิงมาดา). (2563). การบริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อำเภอนาดูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. Journal of
Modern Learning Development, 5(4), กรกฎาคม-สิงหาคม.
วิเชียร พากเพียร. (2555). การสร้างแบบทดสอบวัดคุณธรรมด้านอิทธิบาท 4 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). ภาวะผู้นำ หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.