พระพุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงวิถีวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์ พัฒนาการสังคมรุ่นใหม่ หัวใจของหลักพุทธธรรมก็ไม่เคยเปลี่ยน เพราะไม่ว่าจะมีสมาร์ทโฟน หรือการติดต่อรวดเร็วแบบ 4 G หรือ 5 G ก็ตาม แต่มนุษย์ก็ยังมีความทุกข์อยู่ และเมื่อเป็นอย่างนี้ หลักพุทธธรรมก็ยังมีประโยชน์อยู่เสมอ โจทย์ของคนรุ่นใหม่ก็คือว่า ทำอย่างไรจะนำหลักพุทธธรรม เข้าไปสัมผัสจิตใจของคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เขาเข้าถึงแก่นของหลักคำสอน และกลายเป็นเนื้อเดียวกับหลักคำสอนได้ ซึ่งจะทำให้เขาเห็นทางที่จะรอดพ้นจากความทุกข์เหล่านี้ไปได้ และประเพณีต่างๆซึ่งอาจมีคนบางกลุ่มยังให้ความสำคัญ แต่เนื่องจากคนรุ่นใหม่หลายกลุ่มเริ่มมีแนวความคิดที่เปลี่ยนไปจากจากประเพณีดั้งเดิมเหล่านี้ ปัญหาก็คือว่าเราจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้คนกลุ่มนี้เข้าใจและซาบซึ้งกับคำสอนตามหลักพุทธธรรม เพื่อให้เขาเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในในทางที่ดีขึ้นมาได้ คือโจทย์ที่สำคัญที่สุดของเรื่องพระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์
กรอบแนวคิดของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ปัญญา 3
- สุตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการฟัง อันได้แก่ ฟังการอบรม ฟังการบรรยาย ฟังการอภิปราย ฟังการเสวนา ฟังการระดม การอ่านตำราหรือเอกสารต่าง ๆ การได้ดูได้ฟังจากสื่อต่าง ๆ
- จิตตามยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากความคิด เป็นความคิดที่เป็นระบบถูกต้อง ความคิดที่ละเอียดลึกซึ้ง ความคิดแบบแยบคาย ความคิดรอบด้านที่เรียกว่า ความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้
- ภาวนามนปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการอบรมตนเองโดยเน้นกระบวนการศึกษาจิตและกายอย่างชัดแจ้ง การฝึกจิตควบคุมจิต สามารถนำไปตรึกตรอง ได้อย่างแตกฉาน เป็นระบบ ทำงานได้ผล มีประสิทธิภาพ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
Article Details
References
จังหวัดเลย. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เดสเลอร์, ตัน. (2550) การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2551) การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) ศาสตราจารย์. ดร. ราชบัณฑิต. (2557) วิธีบูรณาการ พระพุทธศาสนา กับศาสตร์สมัยใหม่ พระพุทธศาสนากับความสมานฉันท์แห่งชาติ. กรุงเทพมหานครฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เลหล้า ตรีเอกานุกูล. (2549) การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทยและผลกระทบของการถูกจำกัดสิทธิ์ที่มีต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลไร้สัญชาติไทยชาวไทยใหญ่จังหวัดเชียงราย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยา), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุริชัย หวันแก้ว. (2543) มิติใหม่ของการศึกษาวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานวิจัยวัฒนธรรมแห่งชาติ.
เสรี พงศ์พิศ. “วัฒนธรรมกับการพัฒนาชนบท” ใน วัฒนธรรมไทย 29, 11 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม): 2533.
ชุติมา พัฒนพงศ์, ข่าวสด, http://daily.khaosod.co.th. [ 8 /4/2560].
บุษบา สุธีธร, บทความงานวิจัย, http://www.stou.ac.th. [17/4/60].
พงษ์เทพ บุญกล้า, ประชาไท, http://prachatai.com. [1/5/2560].