บทบาทของพระสังฆาธิการกับการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์แพร่ระบาด ของโรคโควิด ๑๙ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Main Article Content

สุเทพ เชื้อสมุทร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทปัจจุบันของพระสังฆาธิการในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์แพรระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง (๒) เพื่อวิเคราะห์สภาพของบทบาทพระสังฆาธิการกับการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง (๓) เพื่อเสนอแนวทางการช่วยเหลือประชาชนตามบทบาทพระสังฆาธิการที่ควรเป็นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง  เป็นการวิจัยโดยวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ๒๗๕ รูป วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๒๐ รูป/ คน ผลการวิจัยพบว่า


๑. บทบาทของพระสังฆาธิการกับการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๑ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๓ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบทบาทของพระสังฆาธิการ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๘๘ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๒ โดยอันดับที่ ๑ ได้แก่ ด้านนโยบายของรัฐบาล มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๔ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๙๖ รองลงมาได้แก่ ด้านด้านจิตอาสาและพัฒนา มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๖ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๙ และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านนโยบายคณะสงฆ์มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๕ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๕ ตามลำดับ ด้านการให้ความช่วยเหลือ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๓ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๓ และเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากขึ้นไป ซึ่งอันดับที่ ๑ ได้แก่ ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๔ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๐ รองลงมา ได้แก่ ด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๕ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๙๘ และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๙ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๙ ตามลำดับ        


๒. สภาพของบทบาทพระสังฆาธิการกับการช่วยเหลือประชาชนในสถาน การณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๑. ด้านบทบาทของพระสังฆาธิการ ๑) ด้านนโยบายของรัฐบาล  จุดแข็ง คือ ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นอย่างดี ไม่เฉพาะเรื่องของการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ เท่านั้น แม้แต่เรื่องอื่นๆ ก็ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จุดอ่อน คือ การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงดำเนินการได้ค่อนข้างน้อย โอกาส คือประสานงานระหว่างประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ อุปสรรค คือ ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐเปิดโอกาสให้พระสังฆาธิการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ค่อนข้างน้อย ๒) ด้านนโยบายคณะสงฆ์ จุดแข็ง คือ เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนและเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จุดอ่อน คือ บริบทของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดระยองมีความแตกต่างกัน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยงาน โอกาส คือสร้างความร่วมมือและทำให้เกิดความใกล้ชิดกับประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างพระกับประชาชน อุปสรรค คือ  เพราะประชาชนก็ได้รับผลกระทบ ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๓) ด้านจิตอาสาและพัฒนา จุดแข็ง คือ มีการตั้งทุนนิธิและมูลนิธิส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะเรื่องการศึกษา ความเป็นอยู่ สุขภาพ เป็นต้น จุดอ่อน คือ ส่วนใหญ่ดำเนินการในนามตนเองหรือวัด ยังไม่มีการร่วมมือในการช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบของกลุ่มเท่าที่ควร โอกาส คือ การสร้างความร่วมมือในรูปแบบของภาคีเครือข่าย ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ อุปสรรค คือ หน่วยงานได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทำให้ความร่วมมือค่อนข้างประสบปัญหา


           ๓. แนวทางการช่วยเหลือประชาชนตามบทบาทพระสังฆาธิการที่ควรเป็นในสถาน การณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๑. บทบาทของพระสังฆาธิการ ๑) ด้านนโยบายของรัฐบาล ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น เทศบาล อนามัย มาให้ความรู้แก่ประชาชน พระภิกษุสามเณรในเขตรับผิดชอบ พร้อมทั้งพ่นหรือฉีดยาเพื่อฆ่าเชื้อในบริเวณวัด ๒) ด้านนโยบายคณะสงฆ์ ใช้บริเวณวัดที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว บางวัดก็ปลูกผักกรูด มะนาว ข่า พริก ตะไคร้ ใบกระเพาะ มะละกอ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ๓) ด้านจิตอาสาและพัฒนา มีการออกเยี่ยมประชาชนพร้อมทั้งให้กำลังใจ โดยมีแนวคิดว่า “พระไม่ทิ้งโยม โยมไม่ทิ้งวัด” ซึ่งดังกล่าวมีการดำเนินการมาก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ และก็ยังดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
Research Articles

References

กองเลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดระยอง, เอกสารประกอบการประชุมพระสังฆาธิการ. (ระยอง : (เอกสาร), ๒๕๖๓.
จตุรงค์ เสวตานนท์. Memory CD๘ T cell response to dengue virus infection and its cross-reactivity among flaviviruses. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ข้อมูลวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓, สืบค้นจาก www.si.mahidol.ac.th › microbiology_faculty_th.
ประทีป ธนกิจเจริญ, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓, จาก https://www.nationalhealth.or.th
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ข้อมูลวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓, สืบค้นจาก www.si.mahidol.ac.th › microbiologyTH_index-1.
สยามรัฐ, ๓ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ‘ต้นกำเนิด’ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่, กรุงเทพมหานคร: วารสารประจำวันจันทร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓.
ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ : งานวิจัยเผยแพร่ Behavioral Insights ของครัวเรือนไทยภายใต้สถานการณ์ COVID-๑๙, (กรุงเทพมหานคร : คณะเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)) เผยแพร่ เมื่อวันที่๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๓ จาก https://businesstoday.co/covid-19
Ji W, Wang W, Zhao X, Zai J, Li X. Homologous recombination within the spike glycoprotein of the newly identified coronavirus may boost cross-species transmission from snake to human. J Med Virol 2020; https://doi.org/10.1002/jmv.