การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลคลองศกอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผลการวิจัยพบว่า :
1) ระดับการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความสะดวกในการเข้าถึง มีค่าเฉลี่ยมากสุด ( =4.18) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ( =4.12) ด้านความมีชื่อเสียง ( =4.12) ด้านสภาพแวดล้อม ( =4.12) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( =4.10) ส่วนด้านข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยว ( =4.01) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด
เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า มีค่าเฉลี่ยในอยู่ระดับมาก
2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักท่องเที่ยวได้เสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรส่งเสริมความรู้แก่นักท่องเที่ยวให้เล็งเห็นถึงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว 2) ควรส่งเสริมให้ประชาชนที่เข้ามาท่องเที่ยวได้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ลำคลอง เป็นต้น 3) ควรจัดระบบคมนาคมและการสัญจรให้ชัดเจน พร้อมกับทำป้ายบอกทางให้ถูกต้องและติดตั้งเป็นระยะถึงแหล่งท่องเที่ยว 4) ควรมีป้ายบอกระยะทางของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เป็นระยะ โดยเฉพาะทางเลี้ยว หรือทางแยก 5) ควรจัดให้มีการบริการที่ครอบคลุมและทั่วถึงแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เช่น ป้ายบอกทางที่มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นต้น
Article Details
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552) แนวทางการจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยว, กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,
กุลวดี ละมายจีน. (2552). วัฒนธรรมการทองเที่ยวเชิงนิเวศ, เอกสารประกอบการสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (หน่วยที่ ๑),
จิตติมา ดำรงวัฒนะและคณะ. (2561). การประเมินศักยภาพความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านการเรียนรู้ กรณีศึกษา: ผู้นำชุมชน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, มหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – มิถุนายน
จุฑาภรณ์ หินซุย. (2557). ศึกษาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณี : ศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด”, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗
ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์. (2542). ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ ๗. การท่องเที่ยว
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนในตลาดร้อยปีสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี, รายงานการวิจัย, กองทุนส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ดรรชนี เอมพันธุ์ และเรณุกา รัชโน. (2550). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาอนุรักษวิทยา
ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2544). แนวทางและมาตรการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายการันต์ เจริญสุวรรณ. (2560). ศักยภาพและแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนาและคณะ. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในระยะเวลา 4 ปี, (พ.ศ.2555– 2559 (แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560–2564)
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง การวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มณีรัตน์ สุขเกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการทองเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี, ๑ ภาควิชาบริหารธุรกิจทองเที่ยวและโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือวิทยาเขตปราจีนบุรี, วิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙-ธันวาคม
ราณี อิสิชัยกุล. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเอกสารการสอนชุดฝึกอบรมทางไกล. หลักสูตรการจัดการท่องเทียวชุมชนอย่างยั่งยืน, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รุ่งราตรี อึ้งเจริญ. (2560). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสมุทรสาคร วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) วิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม-เมษายน
วิวัฒนชัย บุญยภักดิ์. (2550). แนวคิดด้านศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม, การท่องเที่ยว
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช,
สมประสงค์ อ่อนแสง. (2551) .แนวทางการพัฒนาศักยภาพของวัดจังหวัดมุกดาหารเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม”, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อุทยานแห่งชาติเขาสก. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, [ออนไลน์] http://nps.dnp.go.th/ parksdetail.php?id=๒๑
น.ส.วันเพ็ญ ปานประดิษฐ์. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านความสะดวกในการเข้าถึง. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
ยุภาวดี กิ่งแก้ว. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านความสะดวกในการเข้าถึง. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
วิโรจน์ โรจนจินดา. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
สมเชาว์ โกศล. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
พระครูสุทธิภาตารักษ์. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านสภาพแวดล้อม. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
ธีรยุทธ แต่งนวล. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านสภาพแวดล้อม. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
สราวุธ จู้มณฑา. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านความมีชื่อเสียง. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
ธีระชล เสนาประชาราษฎร์. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านความมีชื่อเสียง. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
กฤษณะ รักกะเปา. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านความมีชื่อเสียง. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)
พระอธิการกฤษณะ ขนฺติธมฺโม. (๘ สิงหาคม ๒๕๖๓). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก ด้านความมีชื่อเสียง. (พระศักดา มหาสกฺโก (ลิกขะไชย), ผู้สัมภาษณ์)