ศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง จำนวน 2,118 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan) โดยให้มีค่าความคลาดเคลื่อนได้ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไป หาค่าร้อยละ (Percentage), ส่วนแนวทางการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนหาค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), และสรุปสังเคราะห์บทสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับแนวทางการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (=2.674) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยมากสุด (=2.726) รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (=2.700) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล (=2.681) และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (=2.588) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด
2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) ควรจัดให้มีเวทีสภาหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มในการทำกิจกรรมร่วมกันตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ 2) ควรจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกิจกรรมกำหนดช่วงเวลา ความเหมาะสมวิธีการ กฎเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับการทำงาน 3) ควรให้ประชาชนในพื้นที่หรือในหมู่บ้านนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน 4) ควรจัดตั้งหรือเลือกตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆ เข้ามาให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือขั้นตอนในการดำเนินงาน 5) ควรจัดให้มีคณะกรรมการจากหมู่บ้านอื่น มาติดตามประเมินผล 6) ควรจัดให้มีการติดตามประเมินผลในทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์การบริหารส่วนตำบลท่ายางเป็นระยะๆ เช่น เดือนละครั้งหรือสามเดือนครั้ง 7) ควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้สึกภาคภูมิใจต่อความสำเร็จจากการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ทำสำเร็จแล้วนั้น 8) ควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้สึกรักและหวงแหนต่อโครงการหรือกิจกรรมที่ได้ ร่วมกันทำเพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
Article Details
References
คนึงนิจ อนุโรจน์. บูรณาการทฤษฎีสู่แนวคิดการสร้างคนเก่งคนดีขององค์การ, 2552, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/ 000/401/951/ original_HRM.pdf? 1285730539 (20 สิงหาคม 2562).
ฐิติอลีนา ใจเพียร. (2558). การมีสวนรวมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเหมืองงา อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน : ภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น, วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา, กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครนายก, มหาวิทยาลัยปทุมธานี, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม สิงหาคม 2561.
นงเยาว์ ทองสุข. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2558.
แพทรียา พลอยไป. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: ศึกษาความคิดเห็นของ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี, วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ที่ 4 ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558).
มธุรดา ศรีรัตน์. การบริหารแบบมีส่วนร่วม, 2559, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://gotoknow.org/blog/ (18 สิงหาคม 2562).
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชุมชน, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยอนุเคราะห์ไทย.
สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด, สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.