การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2, 2) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ดังนี้ 2.1 เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้, 2.2 ประเมินความพึงพอใจ, 2.3 นิเทศติดตามผลการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2 หน่วยยางตลาด เครือข่าย ต.ยางตลาด ระยะที่ 1 จำนวน 67 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่มและระยะที่ 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 20 ข้อ 4) แบบนิเทศการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ 5) แบบสังเกตการจัดการเรียนสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันปัญหา ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.87, S.D. = 0.91) และ มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58 ,S.D. = 0.97), 2. ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2, ดังนี้ 2.1) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 2.2) ความพึงพอใจในการอบรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดทุกด้าน (= 4.78, S.D. = 0.81), 2.3) ผลนิเทศติดตามผลการจัดการเรียนการสอน โดยรวมการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (= 3.52 ,S.D.= 0.91) และจากการสังเกตครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
Article Details
References
(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.
---------------------------. (2549). แนวทางการดําเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์
กระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพฯ:สํานักวิชาการและมาตรฐาน.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
นิราศ จันทรจิตร. การเรียนรู้ด้านการคิด : มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
มารศรี เมืองโคตร. (2554). การพัฒนาความสามารถในการคิดและการอานภาษาไทยอยางมี
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 โดยใชวิธีการคิดแบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแกน.
สุวิทย์ มูลคำ. ครบเครื่องเรื่องการคิด. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, 2547.
สุคนธ์ สิทธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21.
กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). ม.ป.ป.(ข)เกี่ยวกับ สมศ.
(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.onesqa.or.th/th/about/onesqa.php
[3 เมษายน 2550]
อาจารี ศิริรัตนศักดิ์. (2554).ผลการใช้การสอนคิดแบบหมวก 6 ใบ ของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เพื่อ
พัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณของนักเรียน EP 6/4 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนก
ประถม.การคิดแบบหมวก 6 ใบ. 2545. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/develop/News6hat.html
อนุพร พวงมาลี. (2549). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตสาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบหมวก
หกใบของเอ็ด เวิร์ด เดอโบโน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
เดอ โบโน, เอ็ดเวิร์ด. (2536). หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ : Six Thinking Hats. นุชรีย ชลคุป แปลและเรียบเรียง
กรุงเทพ ฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.