การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Pre-experimental Research) ในรูปแบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และ 4) ศึกษาความ พึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 56 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิตที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
- ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ มีค่าเท่ากับ 83.07/ 82.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
- 2. นักศึกษาวิชาชีพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- 3. นักศึกษาวิชาชีพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจของความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีความพึงพอใจ มีค่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 )
Article Details
References
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
กิตติยา ฤทธิภักดี. (2561). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต
รหัส ศท 0404 สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนสตูล. สตูล : สำนัก
วิชาการ วิทยาลัยชุมชนสตูล.
ชม ภูมิภาค. (2543). เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา : สารานุกรมศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถวิลจิต ชาตะเวที. (2561). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องอิฐมอญ โดยใช้การสอนแบบ สะเต็ม ศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าเหมือด อำเภอ
สันทราย จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์) : บัณฑิตวทิยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2547). สุดยอดนวัตกรรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผู้เรียน มิติใหม่ของจัดทำ
ผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู. กรุงเทพฯ : ธารอักษร
ทวี เทศมาศ. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง ศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้เอกสารประกอบการสอน
วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี. อุบลราชธานี :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.
ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประหยัด จิระวรพงศ์. (2540). ความหมาย ลักษณะ พัฒนาการของสื่อประสม. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิภัสรา ศรนารายณ์. (2555). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน
อาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขาวิชาหลักสูตรและการ
สอน). บัณฑิตวทิยาลัย มหาวิทยาลยัราชภัฏบุรีรัมย์.
สมชาย รัตนทองคำ. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารญาณ
สำหรับนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น . ขอนแก่น :
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สฤษณ์ พรมสายใจ. (2560). การพัฒนาเอกสารคำสอนรายวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม
สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสาร
วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 14(2) : 156-163.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมตามแนวคิด Backward Design. มหาสารคาม : ภาควิชา
หลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมใจ เพชรชิต, ราตรี นันทสุคนธ์ และนวลอนงค์ บุญฤทธิพงศ์. (2558). การพัฒนาเอกสาร
ประกอบการเรียนวิชา ง 30267 เรื่อง อาหารไทยเพื่อสุขภาพ จากผักสีเขียวใน
ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. 21 (1) : 249-261.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและ
ประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556.
(12 พฤศจิกายน 2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 43-47.
Dressel. P.L. & Mayhew, L. B. (2017). Promotion and Assessing Critical Thinking.
[Online]. Assessed 11 December 2017. Available from ://www.scribd.
com/doc/38466787/Assessing and Critical Thinking.
Ennis, R. H. (1985). A Logical Basic for Measuring Critical Thinking Skill. Education
Leadership. (October 1985) : 45-48.