กระบวนการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

Main Article Content

ชัยสิทธิพงศ์ จันดาวัลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษาของโรงเรียนในกระบวนการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 203 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ  โรงเรียนที่มีประสิทธิผล จำนวน 8 โรงเรียน เลือกเฉพาะเจาะจงโดยใช้เกณฑ์ผล O-net ประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 87 คน รวมเป็น 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 33 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation)


ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ คือ ด้านการสร้างขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของบุคคล ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการวางแผนงานบุคคล ด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน และ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล   

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545.
กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) , 2545.
กรรณิกา ตงมั่นคง. (2560). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนอนุ บาลสมุทรสาคร สังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2560.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). กระบวนการบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษร
บัณฑิต.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
นันทพร หาญวิทยสกุล. (2551). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิภพ วชังเงิน. (2547). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : รวมสาสน.
ดิเรก วรรณเศียร์ . (2545). การพัฒนาแบบจําลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น
ฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร
การศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2)
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุเทพ บุญประสพ. (2545). การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. การศึกษาเชิงคุณภาพ.
วิทยานิพนธ์ ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุชาติ การสมบัติ. (2544). การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. การศึกษาเชิงคุณภาพ. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
อนันต์ เพียรพานิช. (2546). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานรูปแบบครูและชุมชนมีบทบาทหลัก
ตามความคิดเห็นของครูและนำชุมชนกลุ่มโรงเรียนขามใหญ่พัฒนา อำเภอเมือง จังหวัด
อุบลราชธานี . วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.