การสร้างเครือข่ายชุมชนสันติสุขในโซนอีสานไต้

Main Article Content

อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์
ภัฏชวัชฎ์ สุขเสน
พระมหาอภิสิทธิ วิริโย
รุ่งสิริยา หอมวัน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการการสร้างเครือข่ายชุมชนสังคมสันติสุขในอีสานไต้ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) ศึกษาเครือข่ายสังคมสันติสุขในพหุวัฒนธรรมในอีสานไต้ ๒) เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนสังคมสันติสุขในพหุวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า 


เครือข่ายสังคมสันติสุขในพหุวัฒนธรรม ต้องมีการเชื่อมโยงแผนทุกระดับ ตั้งแต่แผนพัฒนาระดับชาติ แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ  ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด  แผนท้องถิ่นและแผนชุมชน โดยมีหน่วยงานท้องถิ่น นำแผนชุมชนมาประกอบการจัดสรรงบประมาณการพัฒนาท้องถิ่นและผลักดันการดำเนินงานภายใต้แผนชุมชนให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยการระดมทรัพยากรภายในพื้นที่รับผิดชอบทั้งจากภาครัฐ เอกชน พัฒนาเอกชน และชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพื่อเชื่อมโยงกับภาคเอกชนที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ และยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำวิจัยร่วมกับชุมชน เป็นหุ้นส่วนของชุมชนในการต่อยอดภูมิปัญญา   ประสานและสร้างความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจและชุมชน ร่วมพัฒนาฐานข้อมูลชุมชน  กำหนดแนวทางและกิจกรรมการพัฒนาของชุมชนที่ยึดหลักการพึ่งพาตนเองด้วยการคำนึงถึงศักยภาพทรัพยากรริเริ่มและเป็นแกนนำจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชน โดยเฉพาะกิจกรรมที่เชื่อมโยงบทบาทระหว่างบ้าน สถาบันศาสนา โรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างเครือข่ายการดูแล คุ้มครอง การจัดสวัสดิการสังคมภายในชุมชน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท โดยมีสถานบันศาสนาที่คอยปลูกฝังทัศนคติและแนวธรรมะปฏิบัติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และให้บุคลากรทางศาสนาเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ภัฏชวัชฎ์ สุขเสน, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาอภิสิทธิ วิริโย, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รุ่งสิริยา หอมวัน, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๑๐๓/๓๕๑-๓๕๓. ดูเทียบใน ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘-๕๑๐.
ชาติชาย ณ เชียงใหม่. ๒๕๕๕,การบริหารการพัฒนาชนบท. ร์.กรุงเทพฯ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประเวศ วะสี, ๒๕๕๒}“ความสำคัญของสันติวิธีในเชิงยุทธศาสตร์”ใน สันติวิถี: ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความ มั่นคง, สถาบันยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (รวบรวม), (กรุงเทพมหานคร: สถาบัน ยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, .
พระครูวาปีวชิโรภาส, ๒๕๕๘, สงครามศาสนาคริสต์-อิสลาม, เอกสารประกอบวิชาประวัติและพัฒนาการ ความขัดแย้ง และสันติภาพในโลกยุคใหม่, สาขาวิชาสันติศึกษา,
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ๒๕๕๔. “รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี กรณีลุ่มนํ้าแม่ตาช้าง จ. เชียงใหม่”, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.openbase.in.th/node/3062, [20 มกราคม 2563].
เสรี พงษ์พิศ.๒๕๕๓, คืนสู่รากเหง้า : ทางเลือกและทัศนะวิจารณ์ว่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน.พิมพ์ลักษณ์. กรุงเทพฯ