การสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยเรื่อง “การสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม” มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการและผลการสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Data) และการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- การสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยผ่านประเพณีท้องถิ่น เช่น 1) วันสงกรานต์ 2)งานแห่เทียนพรรษา 3) ประเพณีตักบาตรดอกไม้ 4) งานแซนโฎนตา 5) งานแห่ปราสาทผึ้ง 6) งานวันออกพรรษา 7) งานบุญทอดกฐินสามัคคี 8) งานบุญลอยกระทง 9) งานบุญผ้าป่า กิจกรรมเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับวัดได้มีกิจกรรมร่วมกัน ก่อเกิดการถักทอสายใยแห่งความผูกพันฉันญาติมิตรได้เป็นอย่างดีและสามารถสร้างสันติสุขในชุมชนได้
2. กระบวนการและผลการสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 เป็นคนดี ขั้นตอนที่ 2 มีปัญญาดี ขั้นตอนที่ 3 รายได้สมดุล ขั้นตอนที่ 4 สุขภาพดี ขั้นตอนที่ 5 สิ่งแวดล้อมดี ขั้นตอนที่ 6 สังคมดี ขั้นตอนที่ 7 หลุดพ้นอาชญากรรม ขั้นตอนที่ 8 การจัดตั้งกองทุนพึ่งพาตนเอง ขั้นตอนที่ 9 การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการหมู่บ้าน
Article Details
References
บพิธการพิมพ์ จำกัด.
วิลาส โพธิสาร. (2548). การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต้. รายงานการวิจัย.
ทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
ยุววัฒน์ วุฒเมธี. (2555). แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯมหานคร : ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร.