การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการประกอบธุรกิจ ขายตรงในสังคมยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง“การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการประกอบธุรกิจขายตรงในสังคมยุคดิจิทัล”มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฏีการประกอบธุรกิจขายตรงในสังคมยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการประกอบธุรกิจขายตรงในสังคมยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) แนวคิด และทฤษฎีการประกอบธุรกิจขายตรงในสังคมยุคดิจิทัล พบว่า แนวคิด และทฤษฎีการประกอบธุรกิจขายตรงในสังคมยุคดิจิทัล จำเป็นต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร การรักษาดูแลทรัพย์ การคบมิตร และการรู้จักพอดี พอเพียง และพอประมาณแก่ตน 2) หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า เป็นหลักธรรมว่าด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน ประกอบด้วย (1) อุฎฐานสัมปทา (ความขยันหมั่นเพียร) (2) อารักขสัมปทา (การรักษาโภคทรัพย์ที่หามาได้) (3) กัลป์ยาณมิตตตา (การมีกัลยาณมิตร) (4) สมชีวิตา (มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม) 3) การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการประกอบธุรกิจขายตรง ในสังคมยุคดิจิทัล พบว่า เมื่อผู้ประกอบธุรกิจขายตรงนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์มาใช้ ทำให้การบริหารจัดการต่างๆ ของธุรกิจเกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า ธุรกิจจึงได้รับผลตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนทำให้ประสบผลสำเร็จ
Article Details
References
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,..
พระครูโพธิธรรมานุกูล (บรรเทา ชุดจีน). (2554) “ศึกษาแนวทางการนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถ
ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาชีวิตของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยปัจจุบัน”.บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.
______.(2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.
วิทยากร เชียงกูล. (2553) ธรรมะแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนได้อย่างไร. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์บุญญปัญญา,.
อาบิดะ บริพันธ์. (2552).“ธุรกิจเครือข่าย พัฒนาการการขายตรงที่ก้าวไกล”. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.